คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 68

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความ: สำนักงานที่ไม่มีสภาพบุคคล ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวเป็นเพียงสำนักงานที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์มีสภาพเป็นบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพบุคคลและอำนาจฟ้อง: สำนักงานที่ไม่มีสภาพนิติบุคคล ไม่อาจเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่า บุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำนักกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาย เป็นเพียงสำนักที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์ซึ่งไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย กลับกลายเป็นมีสภาพบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411-3412/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยเฉพาะราย, สถานะนิติบุคคลรัฐวิสาหกิจ, ค่าจ้างล่วงเวลาจากละเมิด
ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่ามีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้นบันทึกดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่
แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้ขนส่งสินค้าต่างชาติในไทย: อำนาจฟ้อง, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ' ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด.กับบริษัทอ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' เป็นจำเลยดังนี้ แม้ 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ, ส่วนได้เสียในประกันภัย, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ" ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " เป็นจำเลยดังนี้ แม้ "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อน
เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทยได้รับรองเอกสารสองฉบับที่รับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นลายมือชื่อของหัวหน้ากองกฎหมายแห่งประเทศโปแลนด์จริงโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลไว้แล้ว และได้มอบอำนาจให้บริษัทในประเทศไทยยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้าดังกล่าวอีกเมื่อจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับโจทก์แม้จะขอจดเป็นอีกพวกหนึ่งแต่ก็ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งโจทก์เป็นผู้ใช้มาก่อนโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนคำขอของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่ได้จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งงานของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธานกรรมการสวัสดิการเงินกู้โดยตำแหน่ง ครั้นปี พ.ศ.2516 จำเลยที่ 1 ไปราชการ ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 5 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตาม เดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาทสวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้นี้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้รับแต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วยและเป็นนิติสัมพันธ์ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการเงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่5แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งนี้ยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอกเช่นโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาต่อเงินฝากในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ. 2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธาน กรรมการสวัสดิการ เงินกู้โดยรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 4 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตามเดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาท สวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้แต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนถึงปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการ ซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วย และเป็นนิติสัมพันธ์ ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการ เงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิม ให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอก เช่นโจทก์ ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583-1587/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อกองมรดก: กองมรดกไม่ใช่ นิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจถูกฟ้อง
กองมรดกของผู้ตายไม่ใช่นิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องกองมรดกให้รับผิดร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย: การจดทะเบียนพาณิชย์
บริษัทจำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในต่างประเทศไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการพาณิชย์ได้ภายในขอบข่ายที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์เช่นเดียวกับนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
of 11