พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย และการไม่ติดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจไม่เป็นเหตุ
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่จดทะเบียนในไทย และประเด็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ภาษีการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจวินิจฉัยการประมูล การฟ้องให้ยกเลิกประมูลเป็นเอกสิทธิของเทศบาล
คณะกรรมการรับและเปิดซองประมูลของเทศบาลไม่ใช่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่อาจถูกฟ้องคดีแพ่งได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเช่าที่ดิน, การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐ, และการประวิงคดี
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า, นิติสัมพันธ์เทศบาล/กรุงเทพมหานคร, การประวิงคดี และค่าเสียหายจากการ占ครองพื้นที่
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้วโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีของนิติบุคคลยังคงมีอยู่แม้ผู้แทนเสียชีวิต และการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
นิติบุคคลเป็นโจทก์มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ไว้แล้วในนามนิติบุคคล หาใช่แต่งตั้งเป็นส่วนตัว แม้ต่อมาผู้แทนนั้นถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วการแต่งตั้งทนายเป็นผู้ดำเนินคดีแทนหาได้สิ้นสุดไปไม่ ทนายโจทก์ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ (ตามนัยฎีกาที่ 480/2502)
การที่จำเลยซื้อเรือนได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลประกาศขายทอดตลาดมีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้ใดซื้อได้ให้รื้อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่าปลูกได้ต่อไปโดยมิได้มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหาได้ไม่
การที่จำเลยซื้อเรือนได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลประกาศขายทอดตลาดมีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้ใดซื้อได้ให้รื้อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่าปลูกได้ต่อไปโดยมิได้มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของมัสยิด: กรรมการมีอำนาจจัดการทรัพย์สินและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่บริหารดำเนินการฟ้องคดีได้
มัสยิดซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น เมื่อกรรมการมัสยิดซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของมัสยิดได้ลงมติให้ดำเนินคดีกับจำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินของมัสยิด เจ้าหน้าที่บริหารของมัสยิดอันได้แก่อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นก็ย่อมดำเนินการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีในนามของมัสยิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของมัสยิด: กรรมการ, เจ้าหน้าที่บริหาร และการจัดการทรัพย์สิน
มัสยิดซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น เมื่อกรรมการมัสยิดซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของมัสยิดได้ลงมติให้ดำเนินคดีกับจำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินของมัสยิด เจ้าหน้าที่บริหารของมัสยิดอันได้แก่อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นก็ย่อมดำเนินการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีในนามของมัสยิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการยกเลิกการล้มละลายต่อสภาพนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วน และอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแม้จะมีกฎหมายบัญญัติให้เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย แต่เมื่อภายหลังศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายนั้นเสียแล้ว ก็ย่อมกลับมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิมมีอำนาจฟ้องได้