คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 68

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะการประชุมใหญ่สหกรณ์ ต้องฟ้องสหกรณ์โดยตรง ไม่ใช่ผู้ตรวจควบคุม
ร้านสหกรณ์อยุธยาจำกัดสินใช้ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 และเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับของร้าน ระบุให้จำเลยในฐานะเป็นสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอำนาจตรวจตราควบคุมประจำ และให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ เพื่อให้ดำเนินไปด้วยดี ตลอดจนเรียกและเข้าประชุมใหญ่หรือประชุมคณะกรรมการดำเนินการด้วยเท่านั้น หาได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าผลของการประชุมใหญ่ของร้านสหกรณ์ฯ เป็นโมฆะ ซึ่งเป็นกรณีกล่าวหาว่าร้านสหกรณ์ฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ โจทก์ชอบที่จะต้องฟ้องร้านสหกรณ์เป็นจำเลยโดยตรง เพื่อจะได้มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องนายภักดี อิ่มเอิบธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในฐานะเป็นผู้ควบคุมและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ โดยตรง หาได้ฟ้องร้านสหกรณ์ฯ ไม่ ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องร้านสหกรณ์ฯด้วย ฉะนั้น จะบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ให้มีผลไปถึงร้านสหกรณ์ฯไม่ได้
เพราะนายภักดีมิได้เป็นผู้ดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ฯแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะการประชุมใหญ่สหกรณ์ ต้องฟ้องสหกรณ์โดยตรง ไม่ใช่ผู้ตรวจควบคุม
ร้านสหกรณ์อยุธยาจำกัดสินใช้ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 และเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับของร้าน ระบุให้จำเลยในฐานะเป็นสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอำนาจตรวจตราควบคุมประจำและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ เพื่อให้ดำเนินไปด้วยดีตลอดจนเรียกและเข้าประชุมใหญ่หรือประชุมคณะกรรมการดำเนินการด้วยเท่านั้น หาได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ไม่การที่โจทก์ฟ้องว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าผลของการประชุมใหญ่ของร้านสหกรณ์ฯ เป็นโมฆะซึ่งเป็นกรณีกล่าวหาว่าร้านสหกรณ์ฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ โจทก์ชอบที่จะต้องฟ้องร้านสหกรณ์ฯเป็นจำเลยโดยตรงเพื่อจะได้มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ได้การที่โจทก์ฟ้องนายภักดี อิ่มเอิบธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในฐานะเป็นผู้ควบคุมและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ โดยตรงหาได้ฟ้องร้านสหกรณ์ฯ ไม่ ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องร้านสหกรณ์ฯด้วย ฉะนั้น จะบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ให้มีผลไปถึงร้านสหกรณ์ฯไม่ได้เพราะนายภักดีมิได้เป็นผู้ดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ฯ ต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้ซื้อเชื่อ: โจทก์ในฐานะผู้จัดการร้านค้าที่มิได้เป็นเจ้าของ ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ซื้อเชื่อสิ่งของจากร้านค้าของโจทก์ ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้ซื้อเชื่อสิ่งของจากร้านวิศาลพานิช และรับสภาพหนี้เป็นลูกหนี้ของร้านวิศาลพานิช ร้านวิศาลพานิชเป็นของบิดาโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้าน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขายเชื่อ การฟ้องเรียกหนี้สินโดยผู้ไม่ใช่เจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ซื้อเชื่อสิ่งของจากร้านค้าของโจทก์ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้ซื้อเชื่อสิ่งของจากร้านวิศาลพานิชและรับสภาพหนี้เป็นลูกหนี้ของร้านวิศาลพานิช ร้านวิศาลพานิช เป็นของบิดาโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้าน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหลบหนี แม้ถูกจับในคดีอื่น
นายประกันได้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีหนึ่ง ต่อมาผู้ต้องหานั้นถูกจับในอีกคดีหนึ่ง และได้หลบหนีการควบคุมไปได้เมื่อปรากฏว่านายประกันไม่ได้ขอถอนสัญญาประกันและส่งมอบตัวผู้ต้องหาต่อเจ้าพนักงานผู้ต้องหาจึงยังอยู่ในระหว่างประกันตัวในคดีแรกอยู่เมื่อนายประกันไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีได้นายประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหลบหนี การไม่ขอถอนประกันทำให้ยังต้องรับผิดตามสัญญา
นายประกันได้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีหนึ่ง ต่อมาผู้ต้องหานั้นถูกจับในอีกคดีหนึ่ง และได้หลบหนีการควบคุมไปได้ เมื่อปรากฏว่านายประกันไม่ได้ขอถอนสัญญาประกันและส่งมอบตัวผู้ต้องหาต่อเจ้าพนักงาน ผู้ต้องหาจึงยังอยู่ในระหว่างประกันตัวในคดีแรกอยู่ เมื่อนายประกันไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีได้ นายประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนในฐานะบุคคลธรรมดาและหน้าที่ตามกฎหมาย
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา และการผิดสัญญาจากการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อประโยชน์ทางการค้าและการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายจากการกระทำนั้น
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้(ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า) จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 (หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์ แล้ว โจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2 (4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเองแต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้วเพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น (อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์ แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นรับไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารซื้อเชื่อ, ผู้เสียหาย, และความรับผิดของนิติบุคคล
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่างๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้องจึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้ (ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า)จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1(หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์แล้วโจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเอง แต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้ว เพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์ จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น(อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
of 11