พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และการสละสิทธิโดยปริยาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลายตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กำหนด การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่
การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านสอบถามความประสงค์ของเจ้าหนี้ในการดำเนินการแก่ที่ดินพิพาทเพื่อให้การดำเนินคดีล้มละลายสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยผู้คัดค้านได้กำหนดหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้แถลงความประสงค์เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงและระบุเงื่อนไขว่า หากเจ้าหนี้ไม่มาประชุมหรือไม่แถลงตามกำหนดจะถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินการแก่ทรัพย์ดังกล่าวและไม่คัดค้านการที่ผู้คัดค้านจะรายงานขอให้ศาลมีคำสั่งปิดคดี เมื่อถึงกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) ไม่มีเจ้าหนี้รายใดมาร่วมประชุมจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทโดยปริยาย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้อีกต่อไป
การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านสอบถามความประสงค์ของเจ้าหนี้ในการดำเนินการแก่ที่ดินพิพาทเพื่อให้การดำเนินคดีล้มละลายสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยผู้คัดค้านได้กำหนดหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้แถลงความประสงค์เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงและระบุเงื่อนไขว่า หากเจ้าหนี้ไม่มาประชุมหรือไม่แถลงตามกำหนดจะถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินการแก่ทรัพย์ดังกล่าวและไม่คัดค้านการที่ผู้คัดค้านจะรายงานขอให้ศาลมีคำสั่งปิดคดี เมื่อถึงกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) ไม่มีเจ้าหนี้รายใดมาร่วมประชุมจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทโดยปริยาย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6138/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ออกจากอสังหาริมทรัพย์หลังซื้อจากที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย ไม่ครอบคลุมตามมาตรา 309 ตรี ป.วิ.พ.
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่คดีนี้ผู้ร้องซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทมาจากการขายของที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่ใช่การซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5) ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้ก็เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่ เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามมาตรา 32 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอ และมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้ว ก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความ หากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ. ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งห้าม ตามมาตรา 36 ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น และถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติ ก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น กรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มิเช่นนั้นต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุม
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะปรานีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145(5)ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามมาตรา32เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอและมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้วก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความหากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลของให้ศาลสั่งห้ามตามมาตรา36ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้นและถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้นกรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้นเมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้จำนองแทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และการพิจารณาของศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยให้บริษัท ร.ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัท ร.ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ร.ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัท ร.ชำระหนี้ ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้น เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดตราดยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัท ร.และผู้ล้มละลายแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนบริษัท ร.ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์หรือขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ เพราะตามคำร้องของผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ขอให้ปล่อยทรัพย์หรือเพิกถอนการยึดทรัพย์ และหากผู้ร้องชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนบริษัท ร.ครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจากบริษัท ร.ต่อไป ซึ่งหาใช่ข้อพิพาทในชั้นนี้ไม่
เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัท ร.ดังกล่าวแก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย เช่นนี้ศาลก็ชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 32
เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัท ร.ดังกล่าวแก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย เช่นนี้ศาลก็ชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง14แปลงแทนลูกหนี้ของผู้ล้มละลายเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230,314 เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนลูกหนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินทั้ง14โฉนดอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายศาลชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามมาตรา32แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้จำนองโดยบุคคลภายนอก
ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโดยให้บริษัทร. ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัทร. ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัทร. ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัทร. ชำระหนี้ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้นเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อื่นยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัทร. และผู้ล้มละลายแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้แทนบริษัทร. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัทร. แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย ชอบที่ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผลกระทบต่อสิทธิในการผ่อนชำระ และการคำนวณดอกเบี้ย
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลา แต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45 บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534