คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ตาราง 1 (1) (ก)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากที่ราชพัสดุ: เริ่มนับเมื่อใด และระยะเวลาเท่าใด
โจทก์รู้ว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิและมีสิทธิฟ้องคดีขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทพ้นจากที่ราชพัสดุและเรียกร้องค่าเสียหายได้ตั้งแต่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2520 หรืออย่างช้าไม่เกินปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่โจทก์ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เพิ่งจะยื่นคำฟ้องคดีนี้เรียกร้องค่าเสียหายต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2539 ก็ถือเป็นการฟ้องคดีต่อเนื่องจากการที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิและมีสิทธิฟ้องคดีได้ อันเป็นระยะเวลาล่วงเลยมาถึงประมาณ 12 ปีเป็นอย่างน้อย คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว หาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดดังที่โจทก์ฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ และมีคำขอด้วยว่า เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าเสียเวลา ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่น ๆ ที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนแล้วพิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความอัตราขั้นสูงแก่โจทก์ด้วย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคิดค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้นตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (1) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเวนคืน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนหลายครั้งตาม พ.ร.ฎ. เว้นคืนแต่ละฉบับต้องเสียค่าขึ้นศาลแยกกัน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสามถูกเวนคืน 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่ถูกเวนคืนเนื่องจากการดำเนินการโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งตราออกมาคนละฉบับกัน โจทก์ทั้งสามมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาแต่ละฉบับต่างกันจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ของเงินค่าทดแทนที่ดินแต่ละครั้งที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอเพิ่มแยกต่างหากจากกันด้วย