พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การประมาทเลินเล่อของผู้รับจำนอง และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริต
แม้นิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเกิดจากการกระทำโดยผิดกฎหมายของจำเลยที่ 1 ที่ลักเอาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและโฉนดที่ดินพิพาทไป แล้วปลอมลายมือชื่อพนักงานผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ลงในหนังสือมอบอำนาจ จากนั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี อันเป็นการมิชอบและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองอันมิชอบดังกล่าวได้ก็ตาม แต่การดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและโฉนดที่ดินพิพาทไม่ดี ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสินเชื่อของโจทก์มีโอกาสลักเอาเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเหตุเกิดเพราะโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย และข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แล้วจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ดังนั้น หากศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วร่วมกันจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม ย่อมมีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้รับโอนและผู้รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอย่างแน่นอน เนื่องจากผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้นหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 731 อีกทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ยังได้ระบุในอุทธรณ์ของโจทก์โดยแสดงเจตนาให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 หรือขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจที่จะจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 3 ได้ และจำเลยที่ 3 ก็มีอำนาจที่จะนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 ได้เช่นกัน จึงเท่ากับว่าโจทก์ยอมรับถึงสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้รับโอนที่ดินพิพาทและผู้รับจำนองที่ดินพิพาทตามลำดับ
โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยจึงไม่มีทางที่จะคงสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกไว้ได้โดยไม่กระทบสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนั้น ที่โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องในลำดับแรก ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้มีการเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท โดยให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม จึงเป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยจึงไม่มีทางที่จะคงสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกไว้ได้โดยไม่กระทบสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนั้น ที่โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องในลำดับแรก ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้มีการเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท โดยให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม จึงเป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19391/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยโอนที่ดินให้บุคคลภายนอกหลังสัญญาซื้อขาย ยังต้องรับผิดตามสัญญาเดิม ศาลยืนตามเดิม
การที่จำเลยไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ให้ไว้แก่โจทก์ได้นั้น เป็นเพราะจำเลยได้โอนที่ดินพิพาทไปให้บุคคลภายนอกซึ่งถือได้ว่าเป็นความผิดอันเกิดแต่ฝ่ายของจำเลยเอง จำเลยยังคงมีความรับผิดที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง เพราะอาจมีการเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลย และดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยไม่จำต้องรับผิดดำเนินการดังกล่าวต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และผู้ให้เช่าไม่ยินยอม
การที่จำเลย (ผู้เช่า) บอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ (ผู้ให้เช่า) ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 ถึงมาตรา 389 กล่าวคือ โจทก์ต้องเป็นฝ่ายผิดนัดไม่สามารถส่งมอบพื้นที่เช่าให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ หรือการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนนั้นเป็นอันพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจึงจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบพื้นที่เช่าให้จำเลยเข้าอยู่อาศัย ตรงกันข้ามกลับได้ความว่า หลังจากที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์แล้ว โจทก์ได้มีหนังสือไปถึงจำเลย แจ้งให้จำเลยใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าต่อไปและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ด้วย อันเป็นการทักท้วงจำเลยแล้วว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าของจำเลยเป็นไปโดยมิชอบ ทั้งยังยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ด้วย แต่จำเลยยังเพิกเฉยไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระโดยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทั้งหนังสือโต้แย้งของโจทก์ก็ยืนยันว่าไม่ยินยอมให้จำเลยเลิกสัญญา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าและเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการชำระหนี้โดยหักเงินจากผู้จ่ายเงินของจำเลย ศาลไม่อาจบังคับได้หากบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา
ในสัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยยินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินหักเงินได้รายเดือนของจำเลยตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระส่งชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตั้งแต่มาตรา 271 ถึงมาตรา 323 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์กับจำเลยจะตกลงกันให้บังคับคดีโดยวิธีการอย่างอื่นไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์มีสิทธิขอรับเงินได้รายเดือนจากผู้มีอำนาจจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมจนกว่าจะครบถ้วนนั้น เท่ากับยินยอมให้โจทก์ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้มีอำนาจหักเงินรายได้ของจำเลยได้โดยไม่ต้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและไม่ต้องดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลย จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจสั่งให้ได้
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิกฤตเศรษฐกิจไม่ใช่เหตุให้หลุดพ้นจากหนี้ที่มีประกันจำนอง การชำระหนี้ยังอยู่ในวิสัยที่พึงปฏิบัติได้
การเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจมีผลกระทบต่อลูกหนี้บางคนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินที่ตนมีต่อสถาบันการเงินได้เหมือนเช่นปกติแต่จะถือเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 วรรคหนึ่ง เสียทีเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยเฉพาะจำเลยที่ 1ได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ยืมไว้กับโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้บังคับชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213,728 การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในวิสัยที่พึงปฏิบัติได้ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ต่อไปจะอ้างวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศมาปลดเปลื้องเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากการบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของจำเลยในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผลตามสัญญา
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอโจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอโจทก์ 4 เลขหมายที่ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใดซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาหาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา