พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกยึดเนื่องจากแก้ไขเลขตัวถัง และผู้เช่าซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญา
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดรถยนต์พิพาทเพราะสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายมีสาเหตุมาจากสภาพรถยนต์พิพาทที่ถูกแก้ไขเลขประจำตัวถังรถเมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปดังกล่าวและโจทก์ผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่สามารถใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์คันนั้นตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาได้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่2จะมาโต้เถียงว่ารถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์ผิดกฎหมายแม้จะฟังได้เช่นนั้นก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยที่2ต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่เพราะความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว สัญญาเช่าซื้อข้อ12ระบุว่าไม่ว่าโดยเหตุใดก็ตามถ้ารถยนต์เช่าซื้อถูกจับถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วงผู้เช่าซื้อต้องรีบแจ้งให้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน7วันนับแต่วันถูกจับถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วงและผู้เช่าซื้อต้องจัดการประการหนึ่งประการใดหรือจัดการชำระหนี้อันเป็นมูลให้ถูกยึดหน่วงแล้วแต่กรณีเพื่อให้ได้รถยนต์เช่าซื้อคืนมาโดยเร็วมิฉะนั้นบริษัทจะถือว่าโจทก์ผู้เช่าซื้อปฏิบัติผิดสัญญานี้การที่รถยนต์พิพาทถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไปก็เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายโดยมีการแก้ไขเลขประจำตัวถังรถซึ่งมิใช่การกระทำหรือเป็นความผิดของโจทก์ที่เป็นเพียงผู้เช่าซื้อการแสดงหลักฐานและประวัติของรถยนต์พิพาทว่ามิใช่รถยนต์ผิดกฎหมายย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าของกรรมสิทธิ์คือจำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทั้งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ12โดยแจ้งให้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทราบถึงการที่รถยนต์ถูกยึดภายใน7วันนับจากวันถูกยึดแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้ทำหน้าที่ผู้เช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้ไม่ใช่สัญญาแพ่ง การสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญาและไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัมปทานทำไม้เป็นเรื่องที่รัฐบาลอนุญาตให้บุคคลเข้าดำเนินการทำไม้ภายใต้เงื่อนไขระเบียบและกฎหมาย มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงวางโครงการทำไม้และเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงไม่เป็นการผิดสัญญาสัมปทานทำไม้และโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัมปทานทำไม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้เป็นการชั่วคราว มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนสัมปทาน กรมป่าไม้จึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและการบอกเลิกสัญญา: การผิดสัญญาที่ไม่สำคัญ
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมนั้น มิใช่เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้น
การที่จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในแบบแปลนและที่ได้ตกลงแก้ไขกันประมาณ .16 ถึง .18 เมตร หาทำให้บ้านนั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่ การผิดสัญญาของจำเลยจึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ หากการผิดสัญญาดังกล่าวของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ก็มีเพียงสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ได้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง
การที่จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในแบบแปลนและที่ได้ตกลงแก้ไขกันประมาณ .16 ถึง .18 เมตร หาทำให้บ้านนั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่ การผิดสัญญาของจำเลยจึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ หากการผิดสัญญาดังกล่าวของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ก็มีเพียงสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ได้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทำให้สัญญาสิ้นสุด และจำเลยต้องคืนมัดจำเนื่องจากกรรมสิทธิ์ถูกโอนให้ผู้อื่น
ทั้งโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทนเช่นกัน แต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้ คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้เท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามมาตรา389 อยู่แล้ว จำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ การโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอกทำให้จำเลยต้องคืนมัดจำ
ทั้งโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทนเช่นกันแต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบดังนี้จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(3)ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้เท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามมาตรา389อยู่แล้วจำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผลกระทบต่อการคืนมัดจำเมื่อมีการขายให้ผู้อื่น
เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทน แต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3)ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายเท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 389 อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าช่วงและการคืนเงินค่าเช่า
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามนัย-แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามนัย-แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: ฝ่ายใดผิดสัญญาเมื่อมีคดีความและไม่จดทะเบียน, การคืนเงินค่าตอบแทน
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ฐานคำนวณ และการหักเงินที่จ่ายไปแล้ว
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานการคำนวณค่าจ้าง กรณีลูกจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย