พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูผูกพันเมื่อได้รับการอนุมัติ การเลิกจ้างเนื่องจากวุฒิไม่เป็นไปตามระเบียบ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างแรงงานที่จ้างให้โจทก์เป็นครูในโรงเรียนของจำเลย ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าสัญญาจะผูกพันต่อเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้เป็นครูในโรงเรียนของจำเลยดังนี้เมื่อโจทก์มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงปฏิเสธไม่อนุญาตให้จำเลยบรรจุโจทก์เป็นครูในโรงเรียนของจำเลยตามที่จำเลยร้องขอแล้วจำเลยหาผิดสัญญาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเนื่องจากจงใจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามสัญญาเพื่อไม่ให้ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยทำสัญญากัน โดยโจทก์มอบเครื่องไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้เสียหายและโจทก์ร่วมในคดีอาญายอมถอนคำร้องทุกข์เพื่อศาลฎีกาจะได้สั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ไป แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 1 นำคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปยื่นต่อศาลอาญา ปรากฏว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับในคำร้องแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 2และตราที่ประทับในใบแต่งทนายที่จำเลยที่ 1 ยื่นไว้ในคดีอาญาศาลอาญาจึงต้องเรียกจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มาสอบถาม แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมไปศาลหลายนัดจนศาลอาญาเห็นว่าเป็นการประวิงคดี ศาลอาญาจึงให้ยกคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์นั้นเสีย และได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ปรากฏว่าศาลฎีกาคงให้ลงโทษ ท. ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปศาลเพื่อมิให้ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาล ศาลอาญาก็ไม่อาจส่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลฎีกาสั่งได้เพราะไม่อาจทราบได้ว่าเป็นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำต้องคืนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาถอนฟ้องคดีอาญาไม่สมบูรณ์เนื่องจากจำเลยหลีกเลี่ยงการยืนยัน ทำให้ผิดสัญญาและต้องคืนทรัพย์สิน
โจทก์จำเลยทำสัญญากันโดยโจทก์มอบเครื่องไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้เสียหายและโจทก์ร่วมในคดีอาญายอมถอนคำร้องทุกข์เพื่อศาลฎีกาจะได้สั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ไป แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 1 นำคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปยื่นต่อศาลอาญา ปรากฏว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับในคำร้องแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และตราที่ประทับในใบแต่งทนายที่จำเลยที่ 1 ยื่นไว้ในคดีอาญาศาลอาญาจึงต้องเรียกจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มาสอบถาม แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมไปศาลหลายนัดจนศาลอาญาเห็นว่าเป็นการประวิงคดี ศาลอาญาจึงให้ยกคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์นั้นเสีย และได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ปรากฏว่าศาลฎีกาคงให้ลงโทษ ท. ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปศาลเพื่อมิให้ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีและปล่อย ท. ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาล ศาลอาญาก็ไม่อาจส่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลฎีกาสั่งได้เพราะไม่อาจทราบได้ว่าเป็นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำต้องคืนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมทั้งแผงไฟให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร: การผิดสัญญา, ค่าชดใช้, และการหักกลบลบกันของหนี้
ฎีกา มีประเด็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมาด้วยฎีกาข้อนี้เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที สารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการงานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่งกับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญาโดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที สารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการงานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่งกับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญาโดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าปลูกสร้าง: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, การหักกลบลบกัน
ฎีกา มีประเด็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมาด้วยฎีกาข้อนี้เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีสารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆจากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการ งานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา ย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่ง กับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญา โดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีสารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆจากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการ งานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา ย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่ง กับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญา โดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ พ้นวิสัยจากเหตุเจ้าหนี้จำเลยยึดทรัพย์ และการบอกเลิกสัญญา
โจทก์จ้างจำเลยต่อเรือ เป็นสัญญาจ้างทำของจำเลยผู้รับจ้างมีหน้าที่ทำเรือให้เสร็จภายในกำหนดตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็จะต้องให้สินจ้างแก่จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น เมื่อในสัญญาไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องชำระสินจ้างให้จำเลยครบถ้วนก่อนวันที่ได้กำหนดตามสัญญา โจทก์จะพึงใช้สินจ้างแก่จำเลยก็ต่อเมื่อได้รับมอบเรือที่ได้ทำเสร็จเรียบร้อยในวันครบกำหนดเท่านั้น
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทนซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3)
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทนซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ พ้นวิสัยจากเหตุผู้รับจ้างก่อหนี้ การบอกเลิกสัญญา และการคืนเงินมัดจำ
โจทก์จ้างจำเลยต่อเรือ. เป็นสัญญาจ้างทำของจำเลยผู้รับจ้างมีหน้าที่ทำเรือให้เสร็จภายในกำหนดตามสัญญา. โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็จะต้องให้สินจ้างแก่จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น. เมื่อในสัญญาไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องชำระสินจ้างให้จำเลยครบถ้วนก่อนวันที่ได้กำหนดตามสัญญา. โจทก์จะพึงใช้สินจ้างแก่จำเลยก็ต่อเมื่อได้รับมอบเรือที่ได้ทำเสร็จเรียบร้อยในวันครบกำหนดเท่านั้น.
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา. เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด. การชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ.ทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทน. ซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว. จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3).
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา. เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด. การชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ.ทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทน. ซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว. จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย และการบอกเลิกสัญญา
โจทก์จ้างจำเลยต่อเรือ เป็นสัญญาจ้างทำของจำเลยผู้รับจ้างมีหน้าที่ทำเรือให้เสร็จภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็จะต้องให้สินจ้างแก่จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น เมื่อในสัญญาไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องชำระสินจ้างให้จำเลยครบถ้วนก่อนวันที่ได้กำหนดตามสัญญา โจทก์จะพึงใช้สินจ้างแก่จำเลยก็ต่อเมื่อได้รับมอบเรือที่ได้ทำเสร็จเรียบร้อยในวันครบกำหนดเท่านั้น
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด การชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ ทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทน ซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3)
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเรือให้แก่โจทก์ในวันครบกำหนดตามสัญญา เนื่องจากเรือพิพาทถูกเจ้าหนี้จำเลยในคดีอื่นนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด การชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ ทั้งโจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเรือลำอื่นแทน ซึ่งยังต่อได้น้อยกว่าเรือพิพาท และได้ขอเงินมัดจำคืนจากจำเลยทั้งยังได้นำคดีมาฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเพียง 4 วัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง: ไฟไหม้สิ่งปลูกสร้างไม่ถึงขั้นเลิกสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิขอปรับลดราคา
ทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดินและห้องแถวที่ปลูกในที่ดินนั้นโดยวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของการซื้อขาย ก็คือที่ดิน เมื่อทำสัญญาแล้วเกิดไฟไหม้ห้องแถวเสีย ผู้ซื้อจะใช้สิทธิขอเลิกสัญญาและขอมัดจำคืนไม่ได้ เมื่อเกิดไฟไหม้จะโทษเอาเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิจะขอลดราคาซื้อขายกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและการเลิกสัญญาเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ สัญญาเป็นโมฆะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย
สิ่งของที่ซื้อขายต้องถูกควบคุมอยู่ตาม กฎหมาย ผู้ซื้อและผู้ขายก็ทราบดีแล้วว่า การซื้อขายจะกระทำกันได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ขายขายแก่ผู้ซื้อผู้ซื้อก็ทราบแล้ว และยังได้วิ่งเต้นให้ผู้ขายขายสิ่งของนั้นแก่บุคคลอื่นอีก ถือได้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกันแล้ว ภายหลังที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต จะต้องสันนิษฐานว่าบุคคลกระทำการโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงผู้อื่นขึ้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนเองย่อมฟังไม่ขึ้น