คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: ความผิดฐานครอบครองและเสพ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้างต้นบัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองและเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ในอันที่จะขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลาง ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติข้างต้นได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ต้องเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามนิยามกฎหมาย
ตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. ข้างต้นบัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองและเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ในอันที่จะขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลาง ตามมาตรา 30 แห่งพ.ร.บ. ข้างต้นได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะใช้ในการกระทำผิดยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเฉพาะตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้รถยนต์ขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ อันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดและมีคำขอให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33ซึ่งคำขอในลักษณะเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สิน ต่างจากพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สินฉะนั้น เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาล และศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบรถยนต์ของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่ต้องมีคำร้องตาม พ.ร.บ. มาตรการฯ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถยนต์ของกลาง ซึ่งจำเลยกับพวกใช้เป็น ยานพาหนะขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษอันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ริบของกลางตามมาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33 คำขอให้ริบของกลางในลักษณะเช่นนี้ต่างจากคำขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นเพื่อขอให้สั่ง ริบทรัพย์สิน เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน: มีไว้เพื่อจำหน่าย พิจารณาจากปริมาณทรัพย์สินและพฤติการณ์
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ++
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วนอีเฟดรีนก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้ อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือ ฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาท เก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย พิจารณาจากปริมาณทรัพย์สินและพฤติการณ์อื่นประกอบ
เมทแอมเฟตามีน ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วน อีเฟดรีน ก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาทเก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29,30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
การร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาไว้ในครอบครองและพายาเสพติดดังกล่าวไปเพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพนักงานอัยการเป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 ซึ่งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครองด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอริบทรัพย์สินในคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด: ผู้มิได้เข้ามาคัดค้านย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ผู้ร้องได้แถลงเพื่อให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่ 1 โดยชอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การดำเนินคดีขอริบทรัพย์สินในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อันเป็นกระบวนการพิเศษ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแตกต่างไปจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กล่าวคือตามมาตรา 30 วรรคสอง จะมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 30 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งริบทรัพย์สินได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา 30 วรรคสองส่วนกรณีมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านตามมาตรา 30 วรรคสอง บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีอาจจะเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกคดีดังกล่าวก็ได้ บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีในกรณีนี้จึงไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เข้ามาในฐานะอ้างว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การไต่สวนคำร้องของศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
การไต่สวนคำร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยหากกรณีมีบุคคลเข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง และบุคคลดังกล่าวไม่มีทนายความ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ที่ศาลจะต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา แม้จำเลยที่ 1 จะมาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรก และในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 30 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องนัดแรกโดยไม่เลื่อนคดีไปนั้นชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ของกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในความผิดที่จำเลยที่ 1กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยสมัครใจและมีส่วนได้เสียหรือไม่และคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ศาลจะสั่งริบรถยนต์ของกลางไม่ได้นั้น เท่ากับจำเลยที่ 1ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคสาม หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มีผลให้ศาลไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางนั่นเอง การที่บุคคลใดจะพิสูจน์ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุทธรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสองเสียก่อน คือต้องยื่นคำร้องขอคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ยังให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้อีก ก็ย่อมมีผลเท่ากับให้บุคคลดังกล่าวร้องขอทรัพย์สินของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยปริยายอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้ายที่ห้ามมิให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัตรโดยสารเครื่องบินเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องถูกริบ
การเดินทางออกนอกราชอาณาจักรทางเครื่องบิน ผู้เดินทางจำต้องมีบัตรโดยสารเครื่องบินสำหรับเที่ยวบนที่ตนจะเดินทางให้ถูกต้องเสียก่อนมิฉะนั้นการเดินทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้เพราะพนักงานสายการบินจะยินยอมให้เฉพาะผู้มีบัตรโดยสารเครื่องบินเท่านั้นผ่านขึ้นเครื่องบินได้ ผู้คัดค้านมีบัตรโดยสารเครื่องบินของกลางที่ระบุชื่อผู้เดินทางคือผู้คัดค้านถูกต้องตรงกับหนังสือเดินทางที่จะช่วยให้ผู้คัดค้านสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้สำเร็จ และหากผู้คัดค้านเดินทางถึงที่หมายก็จะได้รับผลจากการนำยาเสพติดให้โทษออกนอกราชอาณาจักร เช่นนี้ บัตรโดยสารเครื่องบินของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นอุปกรณ์ให้ผู้คัดค้าน สามารถรับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องถูกริบเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31
ฎีกาผู้คัดค้านที่ว่า การกระทำของผู้คัดค้านยังไม่ถึงขั้นพยายามส่งยาเสพติดออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้กลับเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัย
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิดดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ตามมาตรา 30,31 ต่อมาได้มีการประกาศ ในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็น เจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์ จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่ง ในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลาง เป็นของจำเลยที่ 2(ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการ ขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตาม พระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 และผู้ร้องได้เข้ามา ในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสองดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้วผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย
of 4