คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1439

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีผิดสัญญาหมั้น: ผู้ให้สินสอดมีสิทธิเรียกร้องคืนได้แม้ไม่ใช่คู่หมั้นโดยตรง
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีมิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผิดสัญญาหมั้น: สิทธิเรียกคืนสินสอดของฝ่ายชาย
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี มิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงและอาชีพ พิจารณาจากฐานะครอบครัวและประเพณี
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439,1440
การกำหนดค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการศึกษาอาชีพและรายได้ของโจทก์ฐานะของครอบครัวของโจทก์และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจน มีบุตรแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงทั้งเป็นการยากที่จะทำการสมรสใหม่
ก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่บริษัทฯ เมื่อแต่งงานแล้วโจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ได้แต่ต่อมาโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แม้จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้แน่นอน โจทก์จึงเรียกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการสมรส: เหตุผลสำคัญในการไม่จดทะเบียนสมรสและการคืนของหมั้น
โจทก์เป็นโรคจิตประสาทอย่างอ่อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถแต่งงานได้ จำเลยเคยพาโจทก์ออกไปเที่ยวนอกบ้านทั้งในเวลาก่อนและหลังหมั้นและกว่าโจทก์จำเลยจะแต่งงานกันก็เป็นเวลาภายหลังหมั้นถึง 5 เดือนเศษ เมื่อจำเลยแต่งงานและอยู่กินกับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้วจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องคืนของหมั้น
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้จากการสู่ขอและเงินสินสอด แม้ไม่จดทะเบียนสมรสก็ใช้บังคับได้
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลยโดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้วจำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้จากค่าสินสอด แม้ไม่จดทะเบียนสมรส ก็มีผลผูกพัน
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลย โดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว จำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น-ละเมิด: ค่าทดแทนความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และค่ารักษาพยาบาล
จำเลยได้หมั้นโจทก์และกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลยจำเลยแนะนำให้ทำแท้งเมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีกจำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้ายจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาหมั้น การทำแท้ง และค่าทดแทนความเสียหายทางร่างกาย-ชื่อเสียง
จำเลยได้หมั้นและกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลย จำเลยแนะนำให้ทำแท้ง เมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีก จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าว ส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้าย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรส ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเสียความบริสุทธิ์
หญิงสมัครใจแต่งงานอยู่กินกับชายได้ปีเศษ โดยต่างไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นมิได้ หญิงจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพื่อการเสียความบริสุทธิ์ของตนจากชาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรส และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเสียความบริสุทธิ์
หญิงสมัครใจแต่งงานอยู่กันกับชายได้ปีเศษ โดยต่างไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นมิได้ หญิงจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพื่อการเสียความบริสุทธิ์ของตนจากชาย
of 7