คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1563

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากการเสียชีวิต: ความคุ้มครองประกันภัยแยกจากค่าเสียหายอื่น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับจำเลยร่วมเท่านั้น ในการทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การที่โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยร่วมที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของกรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จำเลยร่วมอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดในส่วนนี้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมว่าไม่ติดใจเรียกร้องอะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะการประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมาย: ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการอุปการะ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1563 และมาตรา 1564 บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึงบุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมายแต่ประการใด ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา บุตรนอกกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะจากผู้กระทำละเมิดให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้
ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้และมิได้ยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับบำเหน็จตกทอด: ผู้อุปการะมีสิทธิแม้ไม่ใช่บุตรโดยกำเนิด
แม้โจทก์เป็นบุตร ท.และจำต้องอุปการะเลี้ยงดู ท.ตามป.พ.พ.มาตรา 1563 ก็ตาม แต่เมื่อ ท.ป่วยเป็นอัมพาตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้โจทก์เป็นผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้ความช่วยเหลือ ท.ตลอดมาจนกระทั่ง ท.ถึงแก่กรรมเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะ ท.ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4 (2) ด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยให้ชำระเงินบำเหน็จตกทอดตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 โดยอาศัยสิทธิในฐานะเป็นผู้อุปการะ ท.โดยโจทก์มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิในฐานะเป็นบุตร ท.เมื่อโจทก์เป็นผู้อุปการะ ท.ผู้ตาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดตามมาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871-4874/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากจำนวนเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน และยืนยันหลักการจ่ายค่าอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตาม ป.พ.พ. มาตรา443 วรรคสาม โดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกและข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองทำละเมิดเป็นเหตุให้ ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์เกินกว่า 200,000 บาทแต่สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจำนวน 187,000 บาท นั้น โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องโดยลำพังคนละครึ่งหนึ่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพจำนวน18,700 บาท นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิร่วมกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้แต่ละคนได้แต่เมื่อนำไปรวมกับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวแล้วปรากฎว่าไม่เกิน 200,000 บาท ดังนี้ คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และอำนาจฟ้องของบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี2476ก่อนประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองจึงเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีอำนาจฟ้องแม้มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองก็สามารถนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาจึงไม่เป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกันจึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม240,000บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ120,000บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม. ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม. ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาทและค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไปเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานภาพสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย, ทุนทรัพย์พิพาท, ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี 2476ก่อนประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีอำนาจฟ้อง แม้มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองก็สามารถนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกัน จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม 240,000 บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ 120,000 บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม.ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท และค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเมื่อบุตรเสียชีวิต
จำเลยให้ ว.ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปรับปลาที่จังหวัดภูเก็ตมาส่งที่จังหวัดสมุทรสาครแต่ปลาที่จังหวัดภูเก็ตไม่มี ว. จึงรอรับปลาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต วันเกิดเหตุ ว. ขับรถยนต์บรรทุกพาคนงานของจำเลยไปเที่ยงที่หาดป่าตอง ดังนี้ จำเลยมีตัวแทนอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อ ว. ขับรถยนต์บรรทุกไปถึงจังหวัดภูเก็ตไม่มีปลา จำเลยก็น่า จะมีระเบียบให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบรถยนต์บรรทุกไว้ในความรับผิดชอบของตัวแทน แต่จำเลยไม่ได้สั่งหรือดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยยินยอมมอบให้ ว. ควบคุมดูแลรถยนต์บรรทุกตลอดระยะเวลาที่ ซ.อยู่ในจังหวัดภูเก็ตว. สามารถนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปใช้ได้ตลอดเวลา การที่ ว.ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุพาคนงานของจำเลยไปเที่ยวย่อมถือได้ว่านาย ว. กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย การที่ ว. กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นบิดาจึงขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดูย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูอันเป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าบิดามารดาจะมีฐานะมั่งมีหรือยากจนและประกอบอาชีพหาเลี้ยง ตนเองได้หรือไม่ และโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่
of 3