พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการนำภาษีซื้อมาเครดิต ยืนตามกฎหมายที่กำหนดวันจดทะเบียนเป็นสำคัญ
ป.รัษฎากรฯ หมวด 4 ว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แยกผู้ประกอบการไว้เป็น 2 ประเภท บ่งชี้ว่ากฎหมายต้องการให้ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งสองประเภทมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน โจทก์เป็นผู้ประกอบการประเภทที่ 2 ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของโจทก์ไม่อาจมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เกณฑ์รายได้ของโจทก์สูงถึงขนาดที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการ เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมโดยอัตโนมัติ การที่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม เป็นแต่เพียงกำหนดวันเวลาในการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีและการยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อความสะดวกในการควบคุมผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตลอดจนยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตลอดจนยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ให้ถูกต้องต่อไปเท่านั้น เมื่อโจทก์เพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 14 กันยายน 2541 ภาษีซื้อค่ากระแสไฟฟ้าระหว่างเดือนภาษีมกราคม 2540 ถึงเดือนภาษีสิงหาคม 2541 จึงมิใช่ภาษีซื้อที่โจทก์ซึ่งยังมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอาจนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 ประกอบมาตรา 77/1 (18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ แม้ว่าโจทก์จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากซื้อสินค้าหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์แล้วก็ตาม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินเพิ่มที่จำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 89/1 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมิได้ประเมินภาษีคลาดเคลื่อน ผิดวิธีการ หลักเกณฑ์และเจตนารมณ์ ของ ป.รัษฎากรฯ ดังที่โจทก์อุทธรณ์ ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่งดหรือลดเงินเพิ่มจึงชอบแล้ว
เงินเพิ่มที่จำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 89/1 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมิได้ประเมินภาษีคลาดเคลื่อน ผิดวิธีการ หลักเกณฑ์และเจตนารมณ์ ของ ป.รัษฎากรฯ ดังที่โจทก์อุทธรณ์ ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่งดหรือลดเงินเพิ่มจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิคำนวณภาษีซื้อย้อนหลังได้หรือไม่ ฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีสิทธิ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของโจทก์ย่อมมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้อุปถัมภ์ตามสัญญาค้ำประกันภาษีอากร: วงเงินแยกหรือไม่รวมเงินเพิ่ม
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ท. จำกัด ต่อกรมสรรพากรเป็นเงินไม่เกิน 2,097,425 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม?" ตามข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรส่วนหนึ่งไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท กับเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง หาใช่ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีรวมกับเงินเพิ่มไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินใหม่ไม่ถือเป็นการประเมินซ้ำซ้อน
ตาม ป. รัษฎากร ลักษณะ 2 หมวด 4 ส่วน 12 เรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ ถึงแม้ว่าการประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินมิได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย นอกจากนี้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่นั้น เจ้าพนักงานประเมินยังคงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น ซึ่งเงินเพิ่มที่เพิ่มขึ้นก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ เนื่องจากบุคคลที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมต้องเสียเงินเพิ่มจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วน โจทก์ย่อมมีหน้าที่เสียเงินเพิ่มให้แก่จำเลยอยู่แล้วตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 เมื่อการประเมินครั้งใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกนั้นมีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว การประเมินในครั้งหลังจึงหาใช่การประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนแต่ประการใดไม่
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มที่มิชอบ ผู้เสียภาษีมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการประเมินได้ แม้ไม่ได้อุทธรณ์ก่อน
ประมวลรัษฎากรไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดใหม่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินมิได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย แม้การประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ยกเลิกการประเมินในครั้งแรกแล้ว ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่จะให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไป การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำหน่ายคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงชอบแล้ว
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่ยังประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนด เมื่อการประเมินครั้งใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
อธิบดีกรมสรรพากรได้มอบอำนาจให้สรรพากรภาคปฏิบัติราชการแทนอธิบดีอนุมัติขยายเวลาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย เมื่อสรรพากรภาคปฏิบัติราชการแทนอธิบดีอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์สำหรับเดือนภาษีพฤษภาคมและกรกฎาคม 2538ได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี และเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 16 มิถุนายน 2541 โดยโจทก์ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนด
การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียโดยไม่ชอบทำให้โจทก์มีภาษีที่ชำระเกิน โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลที่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์
โจทก์นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษี เป็นเหตุให้โจทก์ถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีปลอมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) แต่ไม่ต้องเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือนำส่งคลาดเคลื่อนหรือของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปตามมาตรา 89(3) และ (4)ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.45/2536 เพราะการใช้ใบกำกับภาษีปลอมย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอยู่ด้วยในตัว
การที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่ยังประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนด เมื่อการประเมินครั้งใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
อธิบดีกรมสรรพากรได้มอบอำนาจให้สรรพากรภาคปฏิบัติราชการแทนอธิบดีอนุมัติขยายเวลาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย เมื่อสรรพากรภาคปฏิบัติราชการแทนอธิบดีอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์สำหรับเดือนภาษีพฤษภาคมและกรกฎาคม 2538ได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี และเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 16 มิถุนายน 2541 โดยโจทก์ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนด
การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียโดยไม่ชอบทำให้โจทก์มีภาษีที่ชำระเกิน โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลที่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์
โจทก์นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษี เป็นเหตุให้โจทก์ถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีปลอมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) แต่ไม่ต้องเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือนำส่งคลาดเคลื่อนหรือของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปตามมาตรา 89(3) และ (4)ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.45/2536 เพราะการใช้ใบกำกับภาษีปลอมย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอยู่ด้วยในตัว
การที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเครดิตภาษีซื้อเกิน และการเรียกเงินเพิ่ม กรณีใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม และเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีก ก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้น ไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1 ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป. รัษฎากร มาตรา 83/2 และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุน อีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จำเลยที่ 1 เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระในเดือนที่แล้วมา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89 (7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้น โดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตามมาตรา 89 (4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จำเลยที่ 1 เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระในเดือนที่แล้วมา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89 (7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้น โดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตามมาตรา 89 (4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่ม กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเครดิตภาษี
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสามและเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีกก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้นไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/2และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุนอีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริต และงดเบี้ยปรับกรณีเจ้าหน้าที่มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำ เพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมาย แต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร แต่เจ้าพนักงานของจำเลยไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาด โจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเบี้ยปรับกรณีผู้เสียภาษีจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผิดพลาดโดยสุจริตและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำเพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลย แต่เจ้าพนักงานของจำเลย ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอ จดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาดโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริตเนื่องจากเจ้าหน้าที่ประเมินไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้งดเบี้ยปรับได้
เมื่อโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีสมุห์บัญชีอำเภอเมืองชลบุรี ปฏิบัติราชการแทนสรรพากรจังหวัดชลบุรี รับจดทะเบียนให้ ซึ่งเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก่อนจดทะเบียน น่าจะตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วจึงจดทะเบียนให้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนจดทะเบียนดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจผิดโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งระบบภาษี มูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะนั้น น่าเชื่อว่าการเสียภาษีโดยผิดพลาดครั้งนี้ของโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สมควรที่จะ งดเบี้ยปรับให้