พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8812/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนครบองค์ประกอบ หากไม่ชัดเจนศาลยกฟ้องได้
แม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของผู้เสียหายโดยการนำเพลงของผู้เสียหายที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ไปบรรจุอันเป็นการทำซ้ำในหน่วยความจำของเครื่องคาราโอเกะ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 26 และ 27 ซึ่งโจทก์อ้างว่า ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ถูกต้องคือ มาตรา 27 และ 28 แต่คำบรรยายฟ้องในส่วนนี้โจทก์ได้บรรยายไว้หลังคำฟ้องที่ว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง และงานโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหาย ดังนั้นข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ว่า โดยการนำเพลงของผู้เสียหายที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบรรจุในหน่วยความจำของเครื่องคาราโอเกะ จึงเป็นเพียงการบรรยายให้เห็นถึงวิธีการที่จำเลยนำเพลงของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายเท่านั้น คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำตามมาตรา 27 (1) และ 28 (1) ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
สำหรับความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตราดังกล่าวมาด้วย แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนท้ายว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็อาจทำให้จำเลยเข้าใจเพียงว่า การที่จำเลยนำงานของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จำเลยอาจไม่รู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่นั้นเป็นงานที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
สำหรับความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตราดังกล่าวมาด้วย แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนท้ายว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็อาจทำให้จำเลยเข้าใจเพียงว่า การที่จำเลยนำงานของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จำเลยอาจไม่รู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่นั้นเป็นงานที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการกำหนดโทษในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่มีโทษจำคุก ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่สามารถรอการกำหนดโทษได้
ป.อ. มาตรา 56 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน... ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้... ก็ได้" ดังนั้น การที่ศาลจะรอการกำหนดโทษจำเลยได้นั้นต้องปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีโทษจำคุก เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง คือ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทโดยไม่มีโทษจำคุก ดังนั้น การกระทำความผิดของจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงจึงเป็นความผิดที่ไม่อาจรอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท และการลงโทษตามกฎหมายที่บทมีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยมีเจตนาเดียวกัน ศาลต้องใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง