คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ม. 126

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งเพื่อจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตการจ้าง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้โดยสารซึ่งจดทะเบียนในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ซึ่งไม่ใช่รถของบริษัทหรือรถที่ใช้ในกิจการของบริษัทที่ตนเป็นลูกจ้างบรรทุกคนต่างด้าวจำนวน 13 คน จากอำเภอเมืองสมุทรสาครไปส่งยังจังหวัดระนองและรับกลับมาส่งยังอำเภอเมืองสมุทรสาคร แม้คนต่างด้าวจะเป็นลูกค้าของบริษัทแต่ก็ต้องเสียค่าโดยสาร ถือได้ว่าเป็นการขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง แม้จำเลยจะได้รับเงินเดือนจากบริษัท แต่จำเลยก็เบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า ในการเดินทางแต่ละเที่ยวจำเลยจะได้รับค่าอาหาร 200 บาท และในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าจำเลยรับจ้างขนส่งแรงงานต่างด้าวเพื่อไปพิสูจน์สัญชาติยังจังหวัดระนอง และกำลังเดินทางกลับตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย จ. 1 ส่วนในชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า เป็นผู้ขับรถยนต์พาคนต่างด้าวเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนอง จำนวน 13 คน ได้ค่าจ้างขับรถ ค่าน้ำมันและค่าก๊าซจำนวน 2,500 บาท ฟังได้ว่าจำเลยได้รับค่าจ้างในการขับรถดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยไม่ประจำทางแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน กรณีประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และช่วยเหลือคนต่างด้าว
การที่จำเลยขับรถยนต์กระบะโดยสารขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่จำเลยขับรถรับคนโดยสาร และการที่จำเลยรับคนต่างด้าวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นการช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม แม้เหตุการณ์ที่จำเลยถูกจับกุมจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันกับการกระทำความผิดฐานแรกก็ตาม แต่ลักษณะแห่งการกระทำสามารถแยกส่วนจากกันได้ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งไม่ประจำทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 1.6 ตัน เข้าข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบกไม่ได้ หากมีเจตนาเพื่อรับจ้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(1) และ (3) ให้คำจำกัดความ "การขนส่ง" หมายความว่าการขนคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยทางบกด้วยรถและ"ขนส่งไม่ประจำทาง" หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันเกิดเหตุจำเลยนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลซึ่งมีน้ำหนัก1,400 กิโลกรัม ไปจอดที่สถานีรถไฟศรีสะเกษจำเลยตกลงรับจ้างค.และอ. พร้อมกระเป๋าและสิ่งของขึ้นรถคันดังกล่าวเพื่อเดินทางไปส่งที่ตำบลดวนใหญ่ ในราคาค่าจ้าง 150 บาทค.และอ. นำกระเป๋าและสิ่งของขึ้นไปวางบนรถจำเลยแล้วแต่ยังไม่ทันออกเดินทางก็ถูกจับเสียก่อนถือได้ว่าจำเลยได้ประกอบการขนส่งแบบไม่ประจำทางสำเร็จแล้ว แม้ยังไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้โดยสารก็ตาม เมื่อจำเลยประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่งประกอบด้วย มาตรา 126 ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2537 มาตรา 5 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (2) การขนส่งโดย (ข) รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง" หมายความว่าการนำรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมมาประกอบการขนส่งที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ตามมาตรา 5 นี้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ขนส่งมิได้กระทำเพื่อสินจ้างจากผู้โดยสารหรือผู้ให้ส่งสิ่งของหรือสัตว์ แต่กรณีของจำเลยเป็นการประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างจากผู้โดยสารจึงไม่เข้าข้อยกเว้น จำเลยจึงมีความผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4035/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และการทับเส้นทางเดินรถประจำทาง ความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์
จำเลยนำรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คนมาประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 วรรคหนึ่งและมาตรา 126 แต่ที่จำเลยนำรถยนต์ดังกล่าวรับส่งคนโดยสารระหว่างตลาดนาโยงกับอำเภอเมืองตรัง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินรถประจำทางของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางสายตรัง-เขาช่อง โดยเก็บค่าโดยสารคนละ 5 บาท จึงเป็นกรณีที่ใช้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทางรับจ้างคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในทางที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 22 วรรคหนึ่งหาจำต้องเป็นการรับส่งเฉพาะคนโดยสารตามรายทางระหว่างที่จำเลยขับรถส่งคนโดยสารไม่ เพราะการรับส่งคนโดยสารของจำเลยอยู่ในเขตรายทางเส้นทางเดินรถของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 12 คน รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม เมื่อรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่นั่ง 11 คน น้ำหนักรถ 1,200 กิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาต
รถยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการขนส่งมีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นการขนส่งที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้ใช้บังคับดังนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 23,93,126,151 แห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 4 กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ไม่ต้องถูกควบคุมตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ เมื่อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่จำเลยใช้บรรทุกขนส่งคนโดยสารมีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้จำเลยจะนำรถคันนั้นมาประกอบการขนส่งประจำทางบรรทุกคนโดยสารเพื่อสินจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 126.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 1.6 ตัน ไม่เข้าข่ายความผิด
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมรถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 126

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถกระบะส่วนบุคคลกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่ โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัมรถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 126.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 1.6 ตัน
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใดจึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัม รถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก ฯ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 23 ประกอบมาตรา126 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว.
of 2