คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 460

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19816/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยและการมีอำนาจเป็นโจทก์: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องมีการตรวจรับสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้เสียหายที่เป็นของนายจ้างไป แต่กลับได้ความตามทางพิจารณาเกี่ยวกับทางปฏิบัติในการซื้อปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้ขายว่า ต้องมีการขนส่งปุ๋ยมาตรวจนับ ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. ก่อนการชำระค่าปุ๋ยตามจำนวนที่ตรวจนับได้ ดังนี้ถือว่าสหกรณ์การเกษตร ด. และผู้ขายซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาเอาการตรวจนับปุ๋ย ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. เป็นสาระสำคัญในการโอนกรรมสิทธิ์ปุ๋ยกัน เมื่อปุ๋ยตามฟ้องสูญหายไประหว่างขนส่งก่อนการตรวจนับ กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงยังไม่ตกเป็นของสหกรณ์การเกษตร ด.
แม้คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่เมื่อสหกรณ์การเกษตร ด. ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6656/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในร้านค้า: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้เสียหายจนกว่าจะชำระเงิน การซุกซ่อนสินค้าแสดงเจตนาทุจริต
หลักเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จำเลยกล่าวอ้างมานั้น เป็นหลักการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของสัญญาซื้อขายที่ได้มีการกระทำโดยสุจริต ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาความรับผิดในทางอาญาดังเช่นกรณีนี้ เนื่องจากทรัพย์สินของผู้เสียหายที่วางไว้ในร้านของผู้เสียหายเพื่อจำหน่ายแก่ผู้มาซื้อ กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นของผู้เสียหาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเอาไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวด้วยวิธีการนำไปซุกซ่อนไว้ในเสื้อผ้าของจำเลย โดยมีเจตนาที่จะไม่ชำระราคาทรัพย์สินนั้น จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพื่อได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารส่งมอบให้แก่โจทก์ ต่อมาเกิดไฟไหม้โรงสีข้าวของจำเลยซึ่งขณะนั้นในโรงสีไม่มีข้าวเปลือกมีแต่ข้าวสารแสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์นั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้เพราะเหตุไฟไหม้ที่ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุไฟไหม้นั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีที่จำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแม้การชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยนั้น ปรากฏว่าการที่จำเลยจะต้องส่งข้าวสารคืนแก่โจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ยังมิได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิในภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งออกสินค้าและวันในเอกสารไม่ตรงกัน
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันโดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิสำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศการที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิดปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัด เลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453,458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการ รับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,250,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาทหากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาทหักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้วผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12 บาทการที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิ และความแตกต่างระหว่างภาษีการค้ากับภาษีเงินได้นิติบุคคล
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน โดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่าย ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิ สำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศ การที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิด ปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 453, 458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการรับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนเมื่อใด: การส่งมอบและตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนรับมอบ
เมื่อโจทก์ร่วมสั่งซื้อน้ำยาเคมีสไตรีนโมโนเมอร์สำหรับทำพลาสติกเม็ดจากบริษัท ช.บริษัทช. จะว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดท. ใช้รถยนต์บรรทุกน้ำยาเคมีไปส่งให้โจทก์ร่วม เมื่อรถส่งน้ำยาเคมีมาถึงโรงงานของโจทก์ร่วม เจ้าหน้าที่ตรวจรับนำยาเคมีของโจทก์ร่วมจะชั่งน้ำหนักของรถรวมกับน้ำยาเคมีเสียก่อนหากปรากฏว่าแตกต่างกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในใบส่งของเป็นจำนวนมากโจทก์ร่วมจะสอบถามไปยังบริษัท ช. หากชั่งน้ำหนักถูกต้องเรียบร้อยโจทก์ร่วมจะตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาเคมีว่าได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของโจทก์ร่วมหรือไม่อีก หากถูกต้องจึงจะถ่ายน้ำยาเคมีสู่ถังเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมหากไม่ถูกต้องก็จะให้รถบรรทุกน้ำยาเคมีกลับไป การซื้อขายระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ช. จึงเป็นการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะรับมอบน้ำยาเคมีต่อเมื่อมีการตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพแล้ว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมีที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อจากบริษัท ช. จะตกเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อมีการถ่ายน้ำยาเคมีจากรถบรรทุกลงสู่ถังเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ขับรถบรรทุกน้ำยาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วม จำเลยจึงขับรถกลับไปแสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้รับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนเมื่อใด: การซื้อขายมีเงื่อนไขตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพ
เมื่อโจทก์ร่วมสั่งซื้อน้ำยาเคมีสไตรีนโมโนเมอร์สำหรับทำพลาสติกเม็ดจากบริษัท ช. บริษัท ช. จะว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ใช้รถยนต์บรรทุกน้ำยา-เคมีไปส่งให้โจทก์ร่วม เมื่อรถส่งน้ำยาเคมีมาถึงโรงงานของโจทก์ร่วม เจ้าหน้าที่ตรวจรับนำยาเคมีของโจทก์ร่วมจะชั่งน้ำหนักของรถรวมกับน้ำยาเคมีเสียก่อนหากปรากกฏว่าแตกต่างกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในใบส่งของเป็นจำนวนมาก โจทก์ร่วมจะสอบถามไปยังบริษัทช. หากชั่งน้ำหนักถูกต้องเรียบร้อย โจทก์ร่วมจะตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาเคมีว่าได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของโจทก์ร่วมหรือไม่อีก หากถูกต้องจึงจะถ่ายน้ำยา-เคมีสู่ถังเก็บนำยาของโจทก์ร่วมหากไม่ถูกต้องก็จะให้รถบรรทุกน้ำยาเคมีกลับไป การซื้อขายระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ช. จึงเป็นการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะรับมอบน้ำยาเคมีต่อเมื่อมีการตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพแล้ว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมีที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อจากบริษัท ช. จะตกเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อมีการถ่ายน้ำยาเคมีจากรถบรรทุกลงสู่ถึงเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ขับรถบรรทุกน้ายาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วมจำเลยจึงขับรถกลับไป แสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้ตับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, น้ำหนักสินค้า, การชั่งน้ำหนัก, สัญญาซื้อขาย
โจทก์มี น. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจเอกสารแสดงฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และหนังสือรับรองลายมือชื่อโดยโนตารีปับลิก และกงสุลไทยประจำเมืองที่มีการทำหนังสือมอบอำนาจว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทย จำเลยไม่นำสืบหักล้าง โจทก์จึงไม่จำต้องนำกรรมการผู้มอบอำนาจของโจทก์มาเบิกความประกอบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทยแล้ว และหนังสือมอบอำนาจไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับน้ำหนักเหล็กแผ่นพิพาทว่า มีน้ำหนักแตกต่างไปจากน้ำหนักที่ระบุในใบแจ้งราคาเบื้องต้นของเหล็กแผ่น ซึ่งมีรายละเอียดระบุในเอกสารนั้นว่ารายละเอียดต่าง ๆ เช่น น้ำหนัก ราคาเป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น น้ำหนักแท้จริงน้ำหนักแน่นอนจะแจ้งหนี้ครั้งสุดท้าย ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าทั้งปริมาณและราคายังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว ดังนั้น การสืบพยานโจทก์จึงไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของพนักงานต่อความเสียหายจากการถอนแบตเตอรี่โดยมิชอบ และอายุความฟ้องร้อง
กรมสารบรรณทหารซื้อแบตเตอรี่จากโจทก์และฝากแบตเตอรี่ ที่ซื้อ ไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยังมิได้กำหนดแบ่งแยกไว้แน่นอนว่าจะขายแบตเตอรี่หม้อใดให้กรรมสิทธิ์ในแบตเตอรี่จึงยังไม่โอนไปยังกรมสารบรรณทหารตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 เมื่อแบตเตอรี่ยังเป็นของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จำเลยจะปฏิบัติตามวิธีที่มีการปฏิบัติกันมาก่อน แต่เมื่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยก็จะอ้างเอาการปฏิบัติดังกล่าวซึ่งผิดต่อระเบียบปฏิบัติที่โจทก์วางไว้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ โจทก์เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้โจทก์จะรู้เรื่องละเมิดก่อน วันที่21 พฤษภาคม 2525 แต่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและ พิจารณาหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และได้เสนอความเห็นไปยัง ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแจ้งให้ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบ เมื่อ วันที่ 19ธันวาคม 2526 ถือได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยพึงต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2526 โจทก์ฟ้อง จำเลยเมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2527 ยังไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ผู้เสียหายจากการเบิกถอนแบตเตอรี่ และอายุความการฟ้องละเมิด
เมื่อกรมสารบรรณทหารได้ซื้อแบตเตอรี่จากโจทก์ และขอฝากแบตเตอรี่ที่ซื้อไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยังมิได้กำหนดแบ่งแยกไว้แน่นอนว่าจะขายแบตเตอรี่หม้อใดให้ แบตเตอรี่จึงยังเป็นของโจทก์เพราะกรรมสิทธิ์ในแบตเตอรี่ยังไม่โอนไปยังกรมสารบรรณทหารผู้ซื้อตามป.พ.พ. มาตรา 460 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชดใช้แบตเตอรี่ที่เอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม ผู้อำนวยการเป็น ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ กระทรวงกลาโหมสั่งตั้งกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริง และพิจารณาหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวน ทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และได้เสนอความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึงรัฐมนตรีฯ รัฐมนตรีฯ ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการและ ได้มีการแจ้งให้ผู้อำนวยการโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2526 ถือว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2526.
of 5