พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15786/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการสถาบันการเงินจากสินเชื่อที่ไม่ชอบ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 2551 ใช้โทษที่เบากว่า
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ออกมาใช้บังคับ และในมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมาตรา 158 ได้บัญญัติให้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่เดิมให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ ดังนี้ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก (ฉบับที่ 5) และ (ฉบับที่ 6) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (5) จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ ทั้งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ยังบัญญัติให้การที่สถาบันการเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นความผิด และกำหนดโทษสำหรับสถาบันการเงินรวมทั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการสถาบันการเงินนั้น ตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง, 125, 132 วรรคสอง แต่ปรากฏว่าโทษที่จะต้องลงแก่กรรมการตามที่บัญญัติในมาตรา 75 วรรคสอง สำหรับความผิดตามมาตรา 30 (5) แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 คือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท แตกต่างกับโทษที่บัญญัติในมาตรา 132 วรรคสอง สำหรับความผิดเดียวกันตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 125 แห่งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยไม่มีโทษจำคุก โทษตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้โทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใด ตามป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด รวมถึงการกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและความผิดฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ได้ปรับบทลงโทษความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมาด้วย จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
หลังจากจำเลยกระทำความผิดได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ และต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่ในส่วนเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิมเป็นคุณมากกว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ในส่วนโทษปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน โทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่า โทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ แต่โทษปรับตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย
ความผิดฐานขายโดยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ไว้ในครองครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง มีโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณมากกว่า และแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะมี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม บัญญัติโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิม กรณีจึงยังคงต้องใช้ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดมาปรับบทลงโทษจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและความผิดฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้คราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ต้องลงโทษจำเลยฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
หลังจากจำเลยกระทำความผิดได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ และต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่ในส่วนเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิมเป็นคุณมากกว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ในส่วนโทษปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน โทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่า โทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ แต่โทษปรับตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย
ความผิดฐานขายโดยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ไว้ในครองครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง มีโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณมากกว่า และแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะมี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม บัญญัติโทษหนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เดิม กรณีจึงยังคงต้องใช้ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดมาปรับบทลงโทษจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและความผิดฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้คราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ต้องลงโทษจำเลยฐานขายโดยมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในความผิดเกี่ยวกับเครื่องชั่งตวงวัด และการพิจารณาโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 79 ซึ่งแก้ไขใหม่ มีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามกฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 76 ซึ่งแก้ไขใหม่ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดมิได้บัญญัติไว้เป็นความผิด จำเลยจึงคงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 เท่านั้น ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 76 ซึ่งแก้ไขใหม่ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดมิได้บัญญัติไว้เป็นความผิด จำเลยจึงคงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 เท่านั้น ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข และการปรับใช้กฎหมายอาญาตามหลักกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้จึงไม่ถูกต้อง และในปัญหาดังกล่าวนี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นมาสู่ศาลฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่คุ้มครองผู้ครอบครองอาวุธสงครามเดิม หากมอบให้เจ้าหน้าที่ภายในกำหนด
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 แล้ว ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับ และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บุคคลที่มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในกำหนด 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต้องใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนใหม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้อง แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯโจทก์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้พระราชบัญญัตินี้มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมา เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้ออาคารต่อเติม: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด แม้มีกฎหมายใหม่ที่บทลงโทษรุนแรงกว่า
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารนั้น ความผิดสำเร็จตั้งแต่ขณะทำการต่อเติมอาคารเสร็จ
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ (สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ (สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด