คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จตุรงค์ นาสมใจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14811/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินจากความยินยอม & การบอกเลิกสัญญา - สิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยปลูกสร้างบ้านหรือโรงเรือนบนที่ดินพิพาทที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ย่อมก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียในเวลาใดก็ได้ เพียงแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1413 เท่านั้น การที่โจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสิทธิเหนือที่ดินให้จำเลยรื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทภายใน 30 วัน นับว่าโจทก์ได้ให้เวลาแก่จำเลยพอสมควรแล้ว สิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยย่อมระงับสิ้นไปทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลานั้น เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์แจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาโดยไม่มีสิทธิที่จะอ้างได้ตามกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14334/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดฐานรับของโจร: การพิจารณาช่วงเวลากระทำความผิดและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง
ทรัพย์สินในความผิดฐานรับของโจรคดีนี้มิใช่ทรัพย์สินในความผิดฐานรับของโจรในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๔๗๑ - ๔๗๒/๒๕๕๗ และ ๒๓๑๐/๒๕๕๗ ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ ๒ ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 ในทั้งสามคดีดังกล่าว และช่วงเวลากระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้กับคดีทั้งสามก็เป็นคนละช่วงเวลากัน กรณีไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ ๒ รับของโจรคดีนี้ในคราวเดียวกับการรับของโจรในคดีทั้งสาม ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13572/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขนย้ายแร่ที่ประมูลได้จากการขายทอดตลาดของกลาง แม้เจ้าของที่ดินมิได้ยินยอม
การที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อแร่ของกลางที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้บนที่ดินของจำเลย จากการขายหรือจำหน่ายของอธิบดีโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหารตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 15 จัตวา (1) แต่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์เข้าไปขนแร่ของกลางออกจากที่ดินของจำเลย การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ขัดขวางการขนย้ายแร่ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12328/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักกระแสไฟฟ้า - ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ - การยอมชำระหนี้เป็นหลักฐาน
แม้โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามเป็นคนตัดสายคอนโทรลเคเบิล แต่จุดที่มีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 อยู่ภายในบริเวณรั้วของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการยากที่บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจะเข้าไปตัดสายคอนโทรลเคเบิลในที่เกิดเหตุได้ และการที่สายคอนโทรลเคเบิลถูกตัด มีผลทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้าต่ำกว่าความจริง ทั้งยังพบว่ามีสายไฟฟ้าซึ่งต่อกับสายคอนโทรลเคเบิลถูกลากไปที่โรงเก็บของจำเลยที่ 1 แม้สายไฟฟ้าดังกล่าวถูกตัดไปและไม่พบสวิตช์ควบคุมในโรงเก็บของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำสืบปฏิเสธว่าสายคอนโทรลเคเบิลไม่ได้ถูกตัด ประกอบกับจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าปรับกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าและตกลงยอมชำระค่าไฟฟ้าที่มีการปรับปรุงเพิ่ม ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงมาก หากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสียค่าปรับและทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ลักกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิด ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10955/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อเปิดบัญชีให้ผู้มีเจตนาทุจริต โจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการตรวจสอบภายใน ทำให้ศาลไม่อาจบังคับให้ธนาคารชดใช้ค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นผู้บริหารกิจการ และตามมาตรา 26 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำการในนามขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและเป็นผู้กระทำการแทน สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ การที่จำเลยทั้งสองยอมเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ ถ. ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงินโดยนำหนังสือขอเปิดบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งออกโดยพันเอก ศ. โดยมิได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พันเอก ศ. เป็นตัวแทนของผู้อำนวยการของโจทก์ หรือไม่ กรณีจึงมิได้เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 ถ. นำสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐของพันเอก ศ. ปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายทั้งสี่ลงในสำเนาบัตร และบัตรตัวอย่างลายมือชื่อให้ไว้ต่อพนักงานของจำเลยทั้งสองเพื่อไว้ตรวจสอบลายมือชื่อ จำเลยทั้งสองตรวจสอบหนังสือขอเปิดบัญชีออมทรัพย์และเอกสารต่าง ๆ แล้วเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ใช้ชื่อบัญชีว่า "โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" โดยจำเลยทั้งสองมิได้สอบถามไปยังโจทก์ว่าขอเปิดบัญชีหรือไม่ การที่ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินทั้งสี่มิได้มาลงลายมือชื่อในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานของจำเลยทั้งสองจึงถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยทั้งสอง อันเป็นความประมาทเลินเล่อในขั้นตอนการเปิดบัญชีของจำเลยทั้งสอง แต่การที่ ถ. ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์นำเอกสารต่าง ๆ มายื่นคำขอเปิดบัญชีต่อจำเลยทั้งสองกับการที่พนักงานของจำเลยทั้งสองบกพร่องไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเปิดบัญชีให้แก่ ถ. นั้น การกระทำของ ถ. เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเท่านั้น หลังจากที่จำเลยทั้งสองเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่โจทก์แล้ว ถ. กระทำทุจริตนำเช็คขีดคร่อมที่ลูกค้าโจทก์สั่งจ่ายให้โจทก์เข้าฝากในบัญชีที่จำเลยทั้งสองเปิดให้โจทก์จำนวน 119 รายการ รวมเป็นเงิน 73,462,420.16 บาท รวมเวลานานถึง 5 ปีเศษ อันแสดงให้เห็นว่า ระบบการตรวจสอบภายในของโจทก์ไม่ดีพอ โจทก์ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ ถ. มีโอกาสทุจริตได้ง่าย หากโจทก์มีการตรวจสอบที่ดี รัดกุมและละเอียดรอบคอบ ถ. คงจะไม่ทุจริตตลอดมาเป็นระยะเวลา 5 ปีเศษ และความเสียหายคงจะไม่มากเท่านี้ ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กรณีถือได้ว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10884/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การรับช่วงสิทธิ และการอุทธรณ์ประเด็นความรับผิดและค่าเสียหาย
คดีก่อนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้เอาประกันภัยเป็นโจทก์ที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนที่เกินจากที่โจทก์คดีนี้ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งโจทก์คดีนี้มิใช่คู่ความในคดีก่อน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์ว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายเล็กน้อย ความเสียหายเกิดจากรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยมีการติดตั้งระบบแก๊สที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบนั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดจากรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยมีการติดตั้งระบบแก๊สที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย การที่จำเลยกลับมาอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: สัญญาจ้างเหมามีผลผูกพันกับตัวการ แม้จะอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทน
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนเชิดไว้ในมาตรา 821 ว่าบุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน จึงเป็นบทบัญญัติถึงความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการ บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจฟ้องตัวการให้รับผิดได้ แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจกล่าวอ้างว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้รับจ้างในสัญญาจ้างเหมาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของบริษัท จ. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาจ้างเหมากับโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10679/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความภาระจำยอม: การฉ้อฉลและการใช้สิทธิอุทธรณ์
ในการเจรจาต่อรองค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมระหว่างโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาอยู่เองที่โจทก์ย่อมต้องการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยในจำนวนที่ต่ำ ในขณะที่จำเลยต้องการได้ค่าตอบแทนในจำนวนที่สูง จึงเป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายพึงต้องเตรียมข้อมูลมาให้พร้อมเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเอง ที่โจทก์เสนอค่าตอบแทนแก่จำเลยในราคาตารางวาละ 1,250 บาท แม้สืบเนื่องมาจากจำเลยแถลงว่ามารดาจำเลยเคยขายที่ดินไปในราคาไร่ละ 500,000 บาท ก็ตาม แต่หากจำเลยยังไม่พอใจเพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ต่ำเกินไป จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อเสนอของโจทก์และเสนอราคาตามที่จำเลยต้องการได้อยู่แล้ว ทั้งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็เข้าร่วมเจรจาด้วยแล้ว จำเลยจึงหาได้เป็นผู้ด้อยปัญญาหรืออยู่ในภาวะที่ถูกกดดันจากสิ่งใดให้ต้องตกลงยอมความกับโจทก์ไม่ จำเลยมีเวลาในการเตรียมคดีนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี จนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งศาลไกล่เกลี่ยจนโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนานถึงเกือบ 6 เดือน ย่อมมากเพียงพอต่อการที่จำเลยจะขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา การไม่ทราบราคาประเมินที่ดินจึงต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฉวยโอกาสและปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดินไม่ นอกจากนี้ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับว่า ค่าตอบแทนการใช้ภาระจำยอมต้องเป็นไปตามราคาประเมินที่ดินอีกด้วย ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างฟังไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9797/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: เขตปฏิรูปที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์เดิม
การประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 แม้ทำให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ แต่ไม่เป็นการถอนสภาพที่ดินที่มีผู้ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ใช้บังคับ ดังนั้น แม้จะมีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบริเวณที่ดินพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 อ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 คือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงฟังไม่ได้ว่ามีการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับค่าขึ้นศาลในคดีอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (1) - (5)
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการตรวจรับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. ภาค 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยการอุทธรณ์ ที่ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับชั้นศาล
และจะถือเป็นการอนุโลมว่าผู้ร้องประสงค์จะอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ร้องมิได้ทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์เพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกา ตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องมายังศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 8