คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จตุรงค์ นาสมใจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเพิ่มจำนวนรถโดยสารประจำทางมีผลเมื่อใด และการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางภายในจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ เป็นการพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถตามที่นายทะเบียนจังหวัดอุบลราชธานีเสนอโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัดอุบลราชธานี อันเข้าลักษณะเป็นการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 31 (1) และ (11) หาใช่การพิจารณากำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางตาม มาตรา 20 (1) อันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางอีกชั้นหนึ่ง การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 เพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่นายทะเบียนกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถดังกล่าว เมื่อจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถดังกล่าวไม่เกินกว่าจำนวนที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่หยุดการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 และเมื่อไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจำเลยที่ 4 นำมาวางชำระจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2547 ว่าไม่ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687-8688/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการมรดกตกทอดแก่ทายาท แม้ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย พินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย แม้คำสั่งศาลที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไปก็ตาม แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบ มิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท
นอกจาก ผ. จะลงลายมือชื่อในการทำพินัยกรรมแล้ว ผ. ยังได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ด้วย โดยมีลายมือชื่อพยานสองคน และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกันมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นพยานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 เมื่อ ผ. ลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. และ ห. และ ช. กับ ห. ลงลายมือชื่อรับรองไว้ขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687-8688/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจัดการมรดกสู่ทายาทหลังผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือ
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย คำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบมิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอนุญาตให้ ท. เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้ว
พินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองเป็นบุคคลต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 การที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. กับ ห. เมื่อบุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับเป็นไปตามชั้นศาล การฎีกาคำสั่งทุเลาการบังคับไม่ชอบ
ป.วิ.พ. กำหนดให้การขอทุเลาการบังคับอยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยเฉพาะ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับภายใต้เงื่อนไขใดๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับอุทธรณ์ฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆ ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสิทธิและถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลย ผู้ร้องจึงฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทุเลาการบังคับเป็นอำนาจของศาลชั้นต้น-อุทธรณ์เฉพาะ ไม่เปิดอุทธรณ์ฎีกา และการเป็นผู้สืบสิทธิจำเลย
ป.วิ.พ. กำหนดให้การขอทุเลาการบังคับ อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยเฉพาะ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับภายใต้บังคับเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับอุทธรณ์ฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆ ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสิทธิ และถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลย ผู้ร้องจึงฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อรับรองสิทธิ
การที่บุคคลใดครอบครองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีจนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้สิทธิของตนที่มีอยู่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมาย ย่อมมีสิทธิที่จะเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) แม้ผู้ร้องทราบดีว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิใช่ไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ทราบชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์และในการรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ให้การว่า ไม่ได้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของใคร แต่ผู้ร้องก็มิได้กล่าวอ้างในคำร้องขอว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กระทำอย่างใด ๆ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเลย คงบรรยายข้อเท็จจริงเพียงว่าหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 378 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้ร้องยังคงครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือรอนสิทธิมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่ายี่สิบปีตามเงื่อนไขของการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ประการเดียว และผู้ร้องก็เพียงขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ มิได้ขอให้บังคับเอาแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ด้วย ดังนี้ เมื่อผู้ร้องประสงค์ที่จะให้สิทธิของผู้ร้องที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง โดยมิได้กล่าวหาว่าผู้คัดค้านที่ 3 หรือบุคคลคนอื่นใดโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (1) มิได้เริ่มคดีโดยฟ้องผู้คัดค้านทั้งสามอย่างคดีมีข้อพิพาท จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของส.ส. กรณีคู่สมรสถือหุ้นในบริษัทรับสัมปทานรัฐ และค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาเกิดเหตุ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม บัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นำความดังกล่าวมาใช้กับคู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาด้วย
จำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6 ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ จำเลยและคู่สมรสมีหน้าที่ตามบทบังคับแห่งกฎหมายในอันที่จะต้องไม่กระทำการที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์โดยไม่ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม การที่ ก. คู่สมรสของจำเลยเข้าถือหุ้นในบริษัท ป. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจากกระทรวงพลังงานอันมีลักษณะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยมีเหตุสิ้นสุดลง จึงส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการต้องห้ามอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 (6) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยที่ 12 - 14/2553 ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐตามมาตรา 216 วรรคห้า จำเลยเป็นคู่ความในคดีจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลง เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยว่างลง รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นเงิน 11,385,447.01 บาท ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการจงใจกระทำผิดกฎหมายของจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาจำต้องมีบทบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ให้สิทธิโจทก์เรียกค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่จากผู้กระทำผิดได้โดยเฉพาะ จึงจะทำให้การกระทำของจำเลยเป็นละเมิดดังจำเลยฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรวม และการครอบครองปรปักษ์: การปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ & การพิสูจน์การครอบครอง
การใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่บุคคลหลายคนถือกรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีได้เพียงลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 หาใช่เป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการฟ้องคดี หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างใช้สิทธิของตน การมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน จึงเป็นกรณีที่ผู้มอบอำนาจมีหลายคนแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องปิดแสตมป์ 60 บาท มิใช่เพียง 30 บาท
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598-5599/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ฟ้องขับไล่จากผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของเดิม การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเช่า ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งสิทธิที่ดีกว่า
ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่ความที่มีความจำนงจะอ้างอิงพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หากคู่ความประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยานตามวรรคสองแห่งบทมาตราดังกล่าว แต่หากกำหนดเวลาดังกล่าวล่วงพ้นไปแล้ว คู่ความฝ่ายใดซึ่งยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน มีความจำนงจะอ้างพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน คู่ความฝ่ายใดนั้น ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานก่อนพิพากษาคดี โดยต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถมายื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้และศาลจะอนุญาตตามคำร้องเมื่อเห็นว่า เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามแห่งบทกฎหมายข้างต้น
จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น โดยจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า พยานบุคคลเพิ่งยืนยันจะมาเป็นพยานและเพิ่งค้นหาเอกสารที่จะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 อ้างว่า บ้านพักของจำเลยที่ 5 และที่ 6 บนที่ดินพิพาทถูกน้ำท่วมต้องย้ายสิ่งของ เพิ่งค้นพบพยานหลักฐานที่จะนำมาประกอบการสืบพยาน และ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจำเลย ว่า เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เข้าใจว่าทนายความคนเดิมได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นคำให้การต่อสู้โต้เถียงสิทธิของโจทก์มาแต่ต้นอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2538 โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 และที่ 5 ยังร่วมกับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมต้องทราบถึงพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างอิงสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตน ประกอบกับ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 และที่ 5 และเป็นทนายจำเลยที่ 6 ก่อนวันสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ปี ทั้งยังเข้าแก้ต่างคดีแทนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตั้งแต่กระบวนพิจารณาในชั้นขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดทำแผนที่พิพาทและการตรวจดูแผนที่พิพาทในวันนัดชี้สองสถาน อันเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 กับ พ. ต้องทราบดีถึงข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างแสดงประกอบข้อต่อสู้ และเมื่อพิจารณาว่าพยานหลักฐานซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ประสงค์จะอ้างอิง เป็นเพียงการอ้างตัวจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 กับ ส. และพยานเอกสารที่อยู่ในความรู้เห็นและในครอบครองของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตลอดจนตามคำร้องขอระบุพยานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ก็อ้างเพียงว่า เพิ่งค้นหาเอกสารพบและเพิ่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่ปรากฏชัดว่า พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้แก้ต่างคดีมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ข้ออ้างตามคำร้องจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แสดงได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กรณีย่อมไม่อาจรับฟังว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ และเมื่อการอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งการอนุญาตให้ยื่นบัญชีพยานภายหลังกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน ต้องเป็นกรณีศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ไม่อาจยกเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขึ้นเป็นข้ออ้างในการพิจารณาอนุญาต กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ดังนั้น การสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งมิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ย่อมเป็นการสืบพยานโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87
แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานแห่งสิทธิเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระบุชื่อ ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และโจทก์ไม่มีหลักฐานการให้ที่ดินพิพาทมาแสดงก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เป็นหลักฐานสิทธิที่ไม่อาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางราชการและที่ดินพิพาทก็มีสภาพเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงสิทธิครอบครอง อันสามารถโอนไปซึ่งการครอบครองด้วยการส่งมอบการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านจัดสรร: การชี้แนวเขตที่ดินเบื้องต้นไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกงหากเนื้อที่ดินตามสัญญาถูกต้อง
จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. ประกอบกิจการก่อสร้างบ้านพร้อมจัดสรรที่ดินขายให้แก่ลูกค้า ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีเนื้อที่ โฉนดที่ดินและที่ตั้งตรงกับที่ดินพิพาท ทั้งรูปแผนที่ก็ตรงตามผังแสดงแนวเขตที่ดินของที่ดินทุกแปลง เพียงแต่ตอนนำชี้ก่อนที่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขาย ได้ชี้แนวเขตที่ดินเพียงคร่าว ๆ ครั้นรังวัดแนวเขตชัดเจนแล้วปรากฏว่า ทิศทางและแนวเขตแตกต่างไปจากที่เจรจาตกลงกันตอนแรก ที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่า การก่อสร้างกำแพงตามแนวเขตดังกล่าว ทำให้บดบังทัศนียภาพของท้องน้ำนั้น เมื่อดูจากภาพถ่ายก็ยังสามารถมองเห็นทัศนียภาพของท้องน้ำได้อย่างชัดเจน พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านรวมราคากว่า 7,000,000 บาท แต่โจทก์ร่วมชำระเงินไปเพียง 400,000 บาท หลังจากรังวัดแล้ว เนื้อที่ดินทั้งหมดก็ยังเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขาย การที่จำเลยชี้แนวเขตที่ดินในตอนแรกโดยที่ยังไม่มีการรังวัด เป็นการกะประมาณเท่านั้น การกระทำของจำเลยยังไม่พอที่จะฟังว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
of 8