พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสใหม่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องเคยสมรสกับจำเลยที่ 3 ต่อมาเมื่อปี 2535 ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 และได้ตกลงสัญญาในการหย่าให้ที่ดินพิพาทตกแก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยที่ 3 ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง โจทก์ให้การต่อสู้คดี โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้อง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84 (3) เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2527 ต่อมาปี 2534 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแม้จะใส่ชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวก็ตาม ที่ดินพิพาทก็เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (2) ซึ่งเมื่อทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวอยู่แล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องนับแต่เวลาจดทะเบียนหย่า และเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 3 ใหม่ ในปี 2549 จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า: ผู้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกก่อนครบกำหนด หากไม่มีข้อตกลงหรือฝ่ายจำเลยผิดสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง" จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ 2 ประการ คือ โดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อสัญญาเช่าบ้านไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนสัญญาเช่าถึงกำหนดโดยข้อสัญญาได้ โจทก์จึงต้องอาศัยสิทธิการบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะขนย้ายทรัพย์สินและออกไปจากบ้านเช่าพร้อมกับทำหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบ ก็มิใช่เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านกับจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมตกลงเลิกสัญญาเช่าบ้านกับโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านแต่เพียงฝ่ายเดียว สัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญา จำเลยจึงไม่จำต้องคืนเงินดังกล่าวอันเป็นค่าเช่าล่วงหน้าส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผู้มิได้เข้าร่วมสู้ราคา ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
ที่ดินพิพาทคดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคยเคาะไม้ขายให้ผู้สู้ราคาสูงสุดมาแล้ว 3 ครั้ง และผู้สู้ราคาดังกล่าวผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสามครั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงกำหนดเงื่อนไขการวางเงินประกันการเข้าสู้ราคาสูงกว่าร้อยละ 5 ของราคาที่เคยมีผู้เสนอสูงสุด โดยเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีผู้รับมอบหมายเพื่อพิจารณา และโดยอาศัยคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 64/2554 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ก่อนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทในครั้งนี้ อันนับได้ว่าเป็นการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยชอบ ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเพื่อขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ก็บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ผู้ร้องเป็นเพียงผู้อ้างว่าประสงค์จะเข้าสู้ราคา โดยมิได้เข้าร่วมสู้ราคา ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ซึ่งต้องเสียหายเพราะการบังคับคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย จึงจะมีความผิดตามมาตรา 157
ป.อ. มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 โจทก์แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายสาหัส และลักทรัพย์ 450 บาทไป จำเลยที่ 4 หารับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไม่เท่านั้น แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด มาตรา 157: การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต้องมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
ป.อ. มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 โจทก์แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายสาหัส และลักทรัพย์ 450 บาทไป จำเลยที่ 4 หารับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไม่ เท่านั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 4 กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีทุจริตของพนักงานสอบสวน ป.ป.ช. และการร้องทุกข์โดยมิใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ถือเป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว บุคคลผู้พบเหตุความผิดดังกล่าวมีอำนาจที่จะกล่าวโทษผู้กระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดได้ และพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กล่าวโทษเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้เสียหายหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121
จำเลยมีตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบล บ. เป็นผู้บริหารท้องถิ่น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่บังคับใช้อยู่ใน ขณะเกิดเหตุความผิดคดีนี้ แต่ตำแหน่งของจำเลยเป็นเพียงผู้บริหารท้องถิ่นมิใช่บุคคลที่เป็นข้าราชการการเมืองอื่นตามมาตรา 66 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำการไต่สวนข้อเท็จจริงและลงมติชี้มูลความผิดส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การกล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงต้องบังคับตามมาตรา 84 ที่ให้ผู้กล่าวหายื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือตามมาตรา 89 ที่ให้ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวโทษ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการตามมาตรา 88 เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการสืบสวนสอบสวนคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ และการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทั้งได้ความจากพันตำรวจโท ว. ว่ากองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ได้รับสำนวนการสอบสวนมาจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเข้าลักษณะเป็นกรณีตามมาตรา 84, 88 และ 89 ประกอบประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ข้อ 6 ดังนั้นพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการย่อมมีอำนาจดำเนินการสอบสวนคดีความผิดนี้ โดยมิพักต้องคำนึงถึงอำนาจของพนักงานสอบสวนในการรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร ข. ได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
จำเลยมีตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบล บ. เป็นผู้บริหารท้องถิ่น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่บังคับใช้อยู่ใน ขณะเกิดเหตุความผิดคดีนี้ แต่ตำแหน่งของจำเลยเป็นเพียงผู้บริหารท้องถิ่นมิใช่บุคคลที่เป็นข้าราชการการเมืองอื่นตามมาตรา 66 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำการไต่สวนข้อเท็จจริงและลงมติชี้มูลความผิดส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การกล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงต้องบังคับตามมาตรา 84 ที่ให้ผู้กล่าวหายื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือตามมาตรา 89 ที่ให้ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวโทษ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการตามมาตรา 88 เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการสืบสวนสอบสวนคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ และการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทั้งได้ความจากพันตำรวจโท ว. ว่ากองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ได้รับสำนวนการสอบสวนมาจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเข้าลักษณะเป็นกรณีตามมาตรา 84, 88 และ 89 ประกอบประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ข้อ 6 ดังนั้นพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการย่อมมีอำนาจดำเนินการสอบสวนคดีความผิดนี้ โดยมิพักต้องคำนึงถึงอำนาจของพนักงานสอบสวนในการรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร ข. ได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ นายกเทศมนตรีอนุมัติจ้างเหมาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรขุนตาลได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงไม่จำกัดว่าผู้ถูกหลอกต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้หลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกก็ผิด
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้หลอกลวง ถ้าหากผู้หลอกลวงโดยทุจริตหลอกลวงผู้ถูกหลอกลวงและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 30277 และ 30301 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยอ้างว่าจะนำโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงไปดำเนินการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกและโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกลับนำที่ดินทั้งสองแปลงไปโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ค. ซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติทางการสมรสกับจำเลย ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 30277 และ 30301 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยอ้างว่าจะนำโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงไปดำเนินการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกและโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกลับนำที่ดินทั้งสองแปลงไปโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ค. ซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติทางการสมรสกับจำเลย ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนที่เกินเลยจากคำฟ้อง และความชอบด้วยกฎหมายในการพิพากษาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารตึกแถวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแทน แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างและควบคุมดูแลการปรับปรุงซ่อมแซมและเป็นผู้ออกแบบ เลือกวัสดุ เปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยจำเลยที่ 1 เอง นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวการตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแล้ว ยังฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวแทนด้วย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ตัวการมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนซึ่งมีความหมายว่าหากจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง แต่โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดฐานะตัวการ คงฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานะตัวการ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานขัดแย้งในคดีอาญา: ศาลต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังและมีเหตุผลหนักแน่น
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและ ป. พยานโจทก์เป็นเพียงพยานบอกเล่า การวินิจฉัยพยานหลักฐานต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยเว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ผู้เสียหายให้การว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยืนอยู่บนบ้านพักชั้นสาม ส่วน ป. ให้การว่าเห็นจำเลยอยู่ตรงระเบียงหน้าบ้านชั้นสาม ซึ่งขัดแย้งกับภาพถ่ายบ้านจำเลยที่ไม่มีระเบียงบ้าน ผู้เสียหายให้การว่าได้ยินเสียงจำเลยร้องหลังจากเสียงปืนนัดที่สองว่า "เครียดโว้ย นอนไม่หลับ" แต่ ป. ให้การว่าเมื่อได้ยินเสียงปืนนัดแรกหันไปเห็นจำเลยถืออาวุธปืนพกจ้องมาจากหน้าต่างบ้านชั้นสามแล้วยิงอีกหนึ่งนัด จำเลยพูดว่า "จบ" ผู้เสียหายให้การว่าขณะเกิดเหตุมีแสงไฟนีออนในบ้านจำเลยเปิดสว่างมองเห็นตัว ส่วน ป. ให้การว่าบ้านจำเลยไม่เปิดไฟ และพยานโจทก์ทั้งสองตรวจดูและลงชื่อรับรองความถูกต้องในแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผ่านหน้าต่างชั้นสองของบ้าน คำให้การในชั้นสวบสวนของพยานโจทก์ทั้งสองขัดแย้งแตกต่างกันโดยตลอด ส่อให้เห็นถึงความไม่ยึดมั่นต่อความจริง มุ่งจะเสริมแต่งข้อเท็จจริงเพื่อปรักปรำจำเลยมากกว่า จึงไม่มีเหตุผลอันหนักแน่นในการรับฟัง การที่ศาลจะรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ทั้งสองยิ่งกว่าคำเบิกความต่อศาลนั้น จะต้องมีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าพยานโจทก์ทั้งสองเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิด แต่โจทก์ไม่ได้ถามค้านหรือนำสืบให้เห็นในความไม่น่าเชื่อถือในคำเบิกความของพยานว่าเป็นการบ่ายเบี่ยงข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลย จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีอันควรแก่การเชื่อถือ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานประกอบอื่นที่รับฟังได้มาสนับสนุน จึงไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยได้