พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956-1958/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งการครอบครองที่ดินมีกำหนดเวลาฟ้อง 1 ปี แม้จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลยังวินิจฉัยได้
การฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองจะต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ซึ่งกำหนดเวลานี้ไม่ใช่อายุความถึงแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังนั้น แม้เดิมจำเลยจะให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความไว้ แต่จำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความนี้เสียซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้น วินิจฉัยได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาตามสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2. ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5. ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้น แต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการจ้างทำของขาดอายุความเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้จึงมีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) เมื่อนับจากวันที่หนี้รายนี้เกิดขึ้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากค้างชำระสินจ้างดังกล่าวเป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความ
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการจ้างทำของในคดีล้มละลาย ศาลพิจารณาเหตุไม่สมควรให้ล้มละลายได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้จึงมีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) เมื่อนับจากวันที่หนี้รายนี้เกิดขึ้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากค้างชำระสินจ้างดังกล่าวเป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความ
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น. การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าวศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น. การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าวศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเมื่อถูกขับไล่และไม่เลี้ยงดูบุตร
ภริยาออกจากบ้านพาบุตรกลับไปอยู่กับมารดา เพราะถูกสามีขับไล่ แล้วไม่ส่งเสียเลี้ยงดูตามที่สามารถทำได้เกิน 1 ปี ภริยาฟ้องหย่าได้ สามีไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลยกขึ้นวินิจฉัยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด vs. อายุความผิดสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยอายุความตามมาตรา 165 ไม่ได้
ค่าเสียหายฐานละเมิดต้องไม่เกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาเรียกค่าเสียหายเนื่องจากผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 164
ในศาลชั้นต้นจำเลยยกอายุความตาม มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้จำเลยฎีกาให้ศาลวินิจฉัยถึงอายุความตาม มาตรา 165 ไม่ได้
ในศาลชั้นต้นจำเลยยกอายุความตาม มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้จำเลยฎีกาให้ศาลวินิจฉัยถึงอายุความตาม มาตรา 165 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: ศาลไม่รับวินิจฉัยข้ออ้างอายุความเมื่อจำเลยอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์
จำเลยให้การต่อสู้อายุความขาดสิทธิฟ้องร้องเพราะสามีและจำเลยครอบครองที่พิพาทมากว่า 10 ปี จำเลยฎีกาอ้างอายุความมรดก 1 ปีตั้งแต่สามีจำเลยตาย ศาลไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ทางอายุความและฟ้องซ้อน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากไม่ยกขึ้นในคำให้การ
จำเลยให้โจทก์เข้าอยู่ในตึกโดยรับเงินไว้จำนวนหนึ่งแต่จำเลยไม่ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์เช่า กลับฟ้องและศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้แก่โจทก์
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-อายุความ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกล่าวถึงที่มาของหนี้ในฟ้องไม่จำเป็นต้องละเอียด และอายุความเป็นข้อต่อสู้ต้องยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้วแม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดต่างๆ ของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยค้างชำระได้เกิน 5 ปีหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอายุความ ซึ่งศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฉะนั้น ปัญหาเรื่องอายุความจึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จึงฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยค้างชำระได้เกิน 5 ปีหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอายุความ ซึ่งศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฉะนั้น ปัญหาเรื่องอายุความจึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จึงฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249