คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินส่วนเหลือ - สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนต้องยื่นตามขั้นตอนกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่15กรกฎาคม2521ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายน2515ข้อ78และข้อ79บัญญัติว่าให้ใช้ได้มีกำหนด10ปีแม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ฉบับที่2พ.ศ.2530ใช้บังคับซึ่งมาตรา7ให้ยกเลิกความในส่วนที่3ข้อ63ถึง80แล้วก็ตามแต่ในมาตรา9วรรคหนึ่งบัญญัติว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนซึ่งออกโดยอาศัยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพระราชกฤษฎีกานั้นและวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา36วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่14กรกฎาคม2531เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจะเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงและได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินต่อสำนักงานวางทรัพย์ฯเพื่อให้โจทก์รับเงินไปอันเป็นการดำเนินการภายในอายุพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจำเลยจึงมีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา13วรรคสองและวรรคสาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา20วรรคหนึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลือน้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะให้ทำประโยชน์ต่อไปโดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อนเมื่อเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แนะนำให้โจทก์ไปร้องขอต่อเจ้าหน้าที่แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามคำแนะนำดังกล่าวเมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนเฉพาะค่าที่ดิน ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจ
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเขตทางซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ.2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจิตใจจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ไม่อยู่ในข่ายที่กฎหมายคุ้มครอง
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเขตทางซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร ... พ.ศ.2535ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การบังคับใช้ประกาศคณะปฏิวัติ vs. พ.ร.บ.เวนคืน และการคิดดอกเบี้ย
ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2527 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 63 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 รายละเอียดในการเวนคืนที่ดินพิพาทจึงต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว หาใช่บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่ เมื่อโจทก์โต้แย้งเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องยื่นอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแต่โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ตนเห็นว่ายังขาดอยู่ภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ฯ ข้อ 67 วรรคสอง ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีและเขตดุสิต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 เป็นต้นไป จำเลยจึงต้องใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลสั่งจ่ายเพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวและแม้ว่าต่อมาพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับโจทก์ซึ่งมีสิทธิอยู่ก่อนแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนอยู่ในเขตทางหลวงเทศบาลที่จะต้องถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524เท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรืออาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าวและเมื่อกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มอบอำนาจให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงตลอดจนดำเนินการเจรจาทำความตกลงเรื่องเงินค่าทดแทนแล้ว หากโจทก์เห็นว่าจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์ทั้งสองได้รับมีจำนวนน้อยไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ออกมาบังคับใช้แทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 จะหมดอายุใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องกำหนดเท่ากับราคาขายที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาข้างต้นใช้บังคับ โดยเป็นไปตามความในข้อ 76 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองโดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นราคาคงที่อยู่ตลอดเวลาที่ยังคงใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ที่ดินของโจทก์ที่ 1อีกสองแปลงซึ่งติดอยู่กับที่ดินพิพาทซึ่งก็ถูกกำหนดให้อยู่ในเขตทางหลวง โดยสองแปลงหลังนี้ได้รับค่าทดแทนเป็นเงินตารางวาละ6,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงควรได้รับค่าทดแทนที่ดินพิพาทในอัตราเท่ากันจึงจะเป็นค่าทดแทนที่สมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า พ.ร.บ.เวนคืนไม่มีผลบังคับใช้ ศาลเห็นว่าคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำขอท้ายคำฟ้อง โจทก์บรรยายประสงค์จะให้ศาลพิพากษาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลลี้อำเภอลี้จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2533 เฉพาะที่เวนคืนที่ดินโจทก์ ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายคำฟ้องไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิที่จะเวนคืนที่ดินนั้น เป็นคำขอที่บทกฎหมายดังกล่าว มิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ก็ให้อำนาจเฉพาะบุคคลที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้นที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามคำบรรยายคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีชื่อผู้ครอบครองในบัญชีรายชื่อ ก็เวนคืนได้ หากที่ดินอยู่ในแนวเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับโดยระบุที่ดินพิพาทอยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงมีเจตนารมณ์ มุ่งบังคับเอาแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นโดยเฉพาะ หาได้ถือเอาตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นสาระสำคัญไม่ เหตุที่ให้ระบุชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเท่านั้นดังนั้น แม้จะไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้ายกำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
of 2