พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษา แม้ยังอยู่ในกระบวนการอุทธรณ์
จำเลยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีอื่นแล้ว แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงไม่ใช่เหตุที่จะนับโทษต่อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษาคดีอาญา แม้คดีที่ให้นับโทษต่อยังไม่สิ้นสุด
จำเลยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีอื่นแล้ว แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงไม่ใช่เหตุที่จะนับโทษต่อไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คดีอาญาไม่พบผู้กระทำผิด
บันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอมีข้อความว่า "จำเลยเผาป่าทำให้ไฟลุกลามไหม้สวนยางพาราของโจทก์ ยางพาราเสียหาย 1,211 ต้น โจทก์คิดค่าเสียหาย 250,000 บาท จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนดังกล่าวภายใน 70 วัน และจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ถือเป็นข้อตกลงที่โจทก์และจำเลยระงับข้อพิพาทเรื่องไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ซึ่งมีอยู่แล้วให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลย แม้ต่อมาจะปรากฏว่าคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยจุดไฟเผาหญ้าโดยประมาทเป็นเหตุให้ไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตามโจทก์จำเลยก็ยังคงต้องผูกพันกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คดีอาญาไม่ฟังขาด
บันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอมีข้อความว่า "จำเลยเผาป่าทำให้ไฟลุกลามไหม้สวนยางพาราของโจทก์ ยางพาราเสียหาย1,211 ต้น โจทก์คิดค่าเสียหาย 250,000 บาท จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนดังกล่าวภายใน 70 วัน และจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ถือเป็นข้อตกลงที่โจทก์และจำเลยระงับข้อพิพาทเรื่องไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ซึ่งมีอยู่แล้วให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลย แม้ต่อมาจะปรากฏว่าคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยจุดไฟเผาหญ้าโดยประมาทเป็นเหตุให้ไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตามโจทก์จำเลยก็ยังคงต้องผูกพันกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4157/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นฎีกา: การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงจำเลยโดยตรงเป็นจุดเริ่มต้นนับระยะเวลา
ศาลจังหวัดนนทบุรีอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2527 แม้ต่อมาศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 ดังนี้ ก็ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2527 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2527 การที่ทนายจำเลยยื่นฎีกาวันที่ 30 ตุลาคม 2527 จึงเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง ล่วงเลยระยะเวลาที่จำเลยมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4157/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นฎีกา: เริ่มนับจากวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยตรง
ศาลจังหวัดนนทบุรีอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2527 แม้ต่อมาศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527ดังนี้ ก็ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2527 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2527 การที่ทนายจำเลยยื่นฎีกาวันที่ 30 ตุลาคม2527 จึงเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง ล่วงเลยระยะเวลาที่จำเลยมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4157/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฎีกา: วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเป็นสำคัญ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 8กันยายน 2527 ต่อมาอ่านให้โจทก์และทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 ดังนี้ ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2527 ไม่ใช่วันที่30 กันยายน 2527 จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2527.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์ของกลาง: 'วันคำพิพากษาถึงที่สุด' หมายถึงคำพิพากษาคดีริบทรัพย์เดิม แม้มีการฟ้องคดีใหม่
การขอคืนทรัพย์ของกลางตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของทรัพย์ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า"วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฎีกา คดีอาญา การสละสิทธิฎีกา และผลของการสิ้นสุดคดี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะข้อที่ให้นับโทษต่อจากคดีอื่น แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'นักโทษเด็ดขาด' เพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ ต้องเป็นผู้ถูกออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้จำเลย ถอนอุทธรณ์ได้ให้คู่ความฟังในวันที่ 17 มิถุนายน 2514 แล้วได้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ไปในวันนั้นเอง ดังนี้ ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะสั่งศาลชั้นต้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจำคุก เมื่อคดีถึงที่สุดให้ใหม่