พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การพิพากษาเกินฟ้อง, และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีทุจริตเงินของทางราชการ
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยและ ว. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารต่อศาลยุติธรรม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าคู่ความที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยาน แต่จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ และเมื่อศาลยุติธรรมพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งและการยินยอมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรม แต่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7951/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: จำเลยต้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจก่อนวันสืบพยาน ไม่ใช่แค่ให้การ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้ามีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟังรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้จัดเป็นความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." ข้อเท็จจริงได้ความว่า การโต้แย้งเขตอำนาจศาลของจำเลยในคดีนี้เป็นการโต้แย้งไว้ในคำให้การ ไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ฯ มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งชอบที่จะเป็นกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองว่าอยู่ในอำนาจของศาลนั้นเองก็ไม่ใช่กรณีที่ถือได้ว่า มีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย