พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4375/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีฟื้นฟูกิจการ: ความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับชำระหนี้
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (3) (ข) และมาตรา 90/42 ทวิ และกำหนดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนทั้งแผนฟื้นฟูกิจการนั้นก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินและวิธีการในการจัดกิจการของลูกหนี้ต่อไป นอกจากนี้รายการในแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (6) ก็ให้กำหนดให้ในแผนมีรายการคือ วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้สิทธิเรียกร้องในการที่จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยสภาพแล้วย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่สามารถโอนกันได้ดั่งเช่นสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็เป็นวิธีการในการดำเนินการของสถาบันการเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องสิ้นเปลืองในการบริหารจัดการหนี้เสียและเป็นวิธีการที่จะนำรายได้มาใช้ในการบริหารธุรกิจต่อไป เมื่อปรากฏว่าในการโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้โอนสิทธิเรียกร้องตามแผนให้แก่ธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด และมีการกำหนดรายละเอียดดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นเมื่อปรากฏว่าธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องมายังธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด และธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวพร้อมหลักประกันมายังโจทก์และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับโอนจึงรับมาซึ่งบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เจ้าหนี้เดิมเคยมีอยู่และสามารถใช้ยันจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่ค้างอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์และธนาคาร ก. ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคาร ก. ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้แก่ธนาคาร ก. เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดิน & การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยร่วมกับ ส. และ ม. เป็นหุ้นส่วนกันในสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญอันมิได้จดทะเบียนทำธุรกิจในกิจการรับถมดินให้แก่จำเลย แต่จำเลยร่วมเพียงผู้เดียวทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างถมดินให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง ตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ส. และ ม. มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้บุคคลทั้งสองจะเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ ส. และ ม. จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าว่าจ้างถมดินตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินจากจำเลยตามสัญญานี้จึงเป็นของจำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น จำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ให้แก่โจทก์ได้ เมื่อจำเลยร่วมได้ทำหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 โอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินที่จำเลยร่วมมีสิทธิได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ โดยจำเลยร่วมจะไม่ยกเลิกเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตามหนังสือยืนยันหนี้เอกสารหมาย จ. 5 และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 จำเลยได้รับแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์แล้ว อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยร่วมในการรับเงินค่าจ้างถมดินจากจำเลยจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยร่วมย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป ภายหลังจากนั้นจำเลยร่วมหามีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้นหนังสือขอเบิกเงินค่าจ้างถมดินส่วนที่เหลือ ที่จำเลยร่วมทำให้ไว้ต่อจำเลยในภายหลังว่าไม่ประสงค์จะมอบหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นมารับแทนโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้นหามีผลไม่
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้