พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะบุคคลยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อและเรียกเก็บภาษีขาย
แม้คณะบุคคลเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและอยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6) ย่อมไม่อาจใช้วิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อและไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่จะถือเป็นภาษีขาย และไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะถือเป็นภาษีซื้อของคณะบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง ทำให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาขอเสียภาษีการค้า/ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง ทำให้มีสิทธิขอรับสิทธิเสียภาษีการค้า/ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้เช่าซื้อ: การจดทะเบียนย้อนหลังและการวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร
ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6)ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา85/3 และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตามแต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว.มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว.มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว.ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว.มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว.มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว.ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่ถือเป็นที่สุด