คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1329

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิเช่าต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสและผู้ให้เช่า
สิทธิการเช่าซึ่งได้แก่สิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งหญิงมีสามีได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินบริคณห์ ซึ่งภรรยาถ้าทำการผูกพันสิทธิการเช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว สามีอาจบอกล้างเสียได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ให้เช่าด้วย เพราะสิทธิการเช่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย และสัญญาเช่า
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าแล้ว สามีย่อมบอกล้างการบอกเลิกสัญญานั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า สามีไม่สามารถบอกเลิกการโอนได้
สิทธิการเช่าซึ่งได้แก่สิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซึ่งหญิงมีสามีได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินบริคณห์ ซึ่งภรรยาถ้าทำการผูกพันสิทธิการเช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว สามีอาจบอกล้างเสียได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ให้เช่าด้วย เพราะสิทธิการเช่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย และสัญญาเช่า
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่านั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริตและการคุ้มครองผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยมีเจตนาหลอกลวงและสุจริตของผู้รับโอน ผลต่อการเพิกถอนนิติกรรม
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่เกิดจากการปลอมแปลงเอกสารและไม่มีอำนาจ การฟ้องติดตามทรัพย์คืนไม่ขาดอายุความ
มีผู้อื่นเอาที่ดินไปขายฝากโดยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของที่ดินลงในใบมอบอำนาจว่าเจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้เอาที่ดินไปขายฝากได้แม้ผู้รับซื้อฝากจะซื้อไว้โดยสุจริตเจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เพราะเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้ขายนิติกรรมการขายฝากระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ซื้อจึงไม่มีต่อกัน(อ้างฎีกาที่2049/92,1866/94) และกรณีเช่นนี้ไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,223,1329,1332 ทั้งไม่ใช่เรื่องบอกล้างโมฆียะกรรมตาม มาตรา143 ด้วย
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ทำโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ แม้ผู้ซื้อสุจริต ก็มีสิทธิ์เรียกร้องคืนได้
มีผู้อื่นเอาที่ดินไปขายฝากโดยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของที่ดินลงในใบมอบอำนาจว่าเจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้เอาที่ดินไปขายฝากได้ แม้ผู้รับซื้อฝากจะซื้อไว้โดยสุจริต เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เพราะเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้ขาย นิติกรรมการขายฝากระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ซื้อจึงไม่มีต่อกัน (อ้างฎีกาที่ 2049/92,1866/94) และกรณีเช่นนี้ไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 821,223,1329,1332 ทั้งไม่ใช่เรื่องบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ม. 143 ด้วย
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามป.วิ.อาญา มาตรา 51 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซื้อขาย: การชำระราคาและการโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิเรียกร้องของผู้ขายเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
ข้อตกลงในวิธีการชำระราคาและข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอดๆ ไม่ใช่ในท้องตลาดแม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1329 และ 1332 ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกัน ให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้ว ให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้ เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรกซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิ์ในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในทรัพย์สิน การซื้อขายผ่อนส่ง และผลกระทบต่อผู้ซื้อต่อจากผู้ผิดสัญญา
ข้อตกลงในวิธีการชำระราคา+ข้อตกลงให้กรรมสิทธิในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอด ๆ ไม่ใช่ในท้องตลาด แม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1320 และ 1332 ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้วให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งตต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรก ซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ ๆ มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ป.พ.พ.ม.1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินบริคณห์โดยภรรยา และกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อโดยสุจริต
ภรรยาเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ไปขาย ผู้ซื้อรับซื้อไว้แล้วไปขายต่ออีกทีหนึ่งโดยทำนิติกรรมซื้อขายกันที่อำเภอทั้งสองครั้ง เมื่อการซื้อขายครั้งที่ 2 เป็นไปโดยสุจริตแล้ว ผู้รับซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น สามีผู้ขายจะมาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างผู้รับซื้อคนแรกกับผู้รับซื้อคนหลังไม่ได้และจะเรียกเอาที่ดินกลับคืนก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินบริคณห์โดยภรรยาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี การซื้อขายต่อโดยผู้ซื้อที่สุจริต ทำให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ
ภรรยาเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ไปขาย ผู้ซื้อรับซื้อไว้แล้วไปขายต่ออีกทีหนึ่งโดยทำนิติกรรมซื้อขายกันที่อำเภอทั้งสองครั้งเมื่อการซื้อขายครั้งที่ 2 เป็นไปโดยสุจริตแล้ว ผู้รับซื้อย่อมได้กรรมสิทธิในที่ดินนั้น สามีผู้ขายจะมาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างผู้รับซื้อคนแรกกับผู้รับซื้อคนหลังไม่ได้และจะเรียกเอาที่ดิน กลับคืนก็ไม่ได้
of 4