คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 83

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมและช่วยเหลือผู้ถูกคุมขัง: การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะที่ร้อยตำรวจตรี พ. ควบคุมตัว ส. ผู้ต้องหา ใน ข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอดจับตัว ร้อยตำรวจตรี พ. ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ส. ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ส. ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (12), 191 แล้วการกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138, 140, 191

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาหลังการมอบตัว: การจับกุมเริ่มนับเมื่อใด และผลหากพ้นกำหนด
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการฟ้องพนักงานอัยการได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันตัวในวันเดียวกับที่ได้รับตัวจากพนักงานสอบสวนไปจนถึงวันฟ้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการจับกุมจำเลยแล้วในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการฟ้อง พนักงานอัยการได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันตัวในวันเดียวกับที่ได้รับตัวจากพนักงานสอบสวนไปจนถึงวันฟ้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการจับกุมจำเลยแล้วในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการบันทึกการจับกุมไม่จำเป็นต้องควบคู่กันไป การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะกรณีแจ้งข้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้ เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้กำหนดให้มีการแจ้งข้อหาหรือการบันทึกการจับกุมแต่ประการใด
การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 กำหนดให้กระทำเฉพาะเมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและ ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทง ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนเติมคำว่า บุกรุกลงในบันทึกการจับกุมที่ผู้จับทำขึ้น จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการ สอบสวนที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงาน
ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ จำเลยกับพวกมิได้บอกว่าโจทก์จะต้องถูกจับ เพียงแต่แจ้งว่าจะเอาไปสอบสวนคดีใหม่ และไม่ได้บอกด้วยว่าคดีอะไร โจทก์เข้าใจว่าเอาไปสอบสวนเพิ่มเติมคดีเรื่องโคของโจทก์หายที่เคยแจ้งความไว้ จึงได้ไปกับจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่าจำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกันได้นำตัวโจทก์ไปโดยอ้างว่าจะพาไปสอบสวนคดีใหม่แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจดังนี้ เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยมิชอบและการปฏิบัติหน้าที่เกินอำนาจของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่า เขาต้องถูกจับ จำเลยกับพวกมิได้บอกว่าโจทก์จะต้องถูกจับ เพียงแต่แจ้งว่า จะเอาไปสอบสวนคดีใหม่ และไม่ได้บอกด้วยว่าคดีอะไร โจทก์เข้าใจว่าเอาไปสอบสวนเพิ่มเติมคดีเรื่องโคของโจทก์หายที่เคยแจ้งความไว้ จึงได้ไปกับจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายได้หาไม่
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่า จำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกัน ได้นำตัวโจทก์ไปอ้างว่า จะพาไปสอบสวนคดีใหม่ แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปที่ควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ดังนี้เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการแจ้งข้อหาที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้กำลังหรือเครื่องพันธนาการหากผู้ต้องหายอมไป
ตำรวจจับผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ผู้ถูกจับยอม ไปกับตำรวจ ก็ไม่จำเป็นต้องจับตัวไปและไม่ต้องใช้เครื่องพันธนาการ เพียงแต่แจ้งข้อหาและบอกให้ไปสถานีตำรวจก็เป็นการจับแล้ว บันทึกการจับจะทำตรงที่จับหรือทำที่ใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งให้ไปสถานีตำรวจไม่ถือเป็นการควบคุมตัว การหลบหนีจึงไม่成立
ตำรวจบอกให้จำเลยไปสถานีตำรวจโดยลำพังเพราะรู้จักจำเลยดี ยังไม่ถูกจับและควบคุม ยังไม่มีการหลบหนีตามมาตรา190
of 7