พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การรับรอง (Aval) ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย และการยกข้อต่อสู้เรื่องการฉ้อฉล
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายระบุผู้รับเงินคือจำเลยที่ 2โดยมิได้ขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือ ในเช็คออก จึงเป็นเช็คผู้ถือผู้จ่ายอาจจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หรือบุคคลใดก็ได้ที่มีเช็คอยู่ในครอบครอง การที่จำเลยที่ 2สลักหลังโอนให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่าย ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คมาจากจำเลยที่ 2 ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบและจะนำสืบได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับหรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ เหตุแห่งการนั้นอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไรจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ แต่ตามคำให้การที่ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกขึ้นต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คอ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คมาจากจำเลยที่ 2 ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบและจะนำสืบได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับหรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ เหตุแห่งการนั้นอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไรจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ แต่ตามคำให้การที่ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกขึ้นต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ: การสลักหลังถือเป็นการอาวัล การชำระหนี้โดยผู้รับอาวัลไม่ถือเป็นการขืนใจลูกหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินบ. โดยออกเช็คไว้ ต่อมาบ. ขอร่วมลงทุนทำการค้าโดยถือเอาเงินที่จำเลยเป็นเงินร่วมลงทุน และตกลงยกเลิกการกู้ยืม มูลหนี้ตามเช็คจึงระงับไป จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยออกเช็คโดยมีข้อตกลงในขณะ ออกเช็คไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชี จึงเป็นข้อ ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่าง ผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็น การห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตาม บทบัญญัติของกฎหมายการที่จำเลยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ การกระทำดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่า กระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 จึงถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ ได้รับเช็คและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารจึง ลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 898 โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องถือว่าเป็น การประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 เป็นการอาวัลตามผลของกฎหมายมิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึง ไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัล โจทก์ต้อง รับผิดต่อ บ. ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง และต้องชำระหนี้ไปตามความรับผิดที่มีต่อ บ. ตามตั๋วเงิน การชำระหนี้นี้โจทก์ไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบและจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ โดยขืนใจลูกหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การออกเช็ค การลงวันที่ การระบุชื่อผู้รับ และการสลักหลัง
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การลงวันออกเช็ค และผลของการสลักหลังในฐานะอาวัล
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และข้อยกเว้นการฟ้องร้องผู้สลักหลังตามมาตรา 990
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียง ประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการ รับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา 989ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอัน จะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลัง โอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกัน การใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่ง ให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจ นำมาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามกฎหมาย ผู้รับประกันต้องรับผิดร่วมกับผู้สั่งจ่าย
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ให้ถือว่า การสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหรือเป็นการรับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบมาตรา 989ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายไม่ได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็น ผู้รับประกันการใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการรับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา989 ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจนำมาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คคืนเงิน, การไล่เบี้ย, อายุความ, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค, การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็ค, และความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1 ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ให้ความยินยอมด้วย จำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกัน ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค และผลต่อความรับผิดตามเช็ค
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้ความยินยอมด้วยจำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3 ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้วเช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,967 ประกอบมาตรา 989