คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 921

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็คในฐานะผู้รับอาวัล แม้จะโต้แย้งเรื่องการฉ้อฉลและการผิดสัญญาธนาคาร
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทจำเลยที่2ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2เพราะเหตุใดจำเลยที่2จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่2หรือไม่ แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่1ตามมูลหนี้กู้ยืมเงินโจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยที่2ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลและจำเลยที่1ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคารโดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่2ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา921ประกอบมาตรา989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็คในฐานะผู้รับอาวัล แม้ผู้รับเช็คโอนต่อ และข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในฎีกา
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทจำเลยที่2ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2เพราะเหตุใดจำเลยที่2จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่2หรือไม่ แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่1ตามมูลหนี้กู้ยืมเงินโจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยที่2ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลและจำเลยที่1ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคารโดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่2ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา921ประกอบมาตรา989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็คในฐานะผู้รับอาวัล แม้จะปฏิเสธการค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใด จำเลยที่ 2จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบ เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคาร โดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค: การผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลเมื่อลงลายมือชื่อสลักหลัง
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่
แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่ 1ตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบ เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคาร โดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับอาวัลเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล แม้ปฏิเสธการจ่ายเงินก็ยังคงรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921, 940 ประกอบด้วยมาตรา 989 ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967 ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คสลักหลัง: สิทธิไล่เบี้ยและอายุความ
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 และ มาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการไล่เบี้ยหนี้เช็ค: ผู้สลักหลังในฐานะผู้ค้ำประกันมีอายุความ 10 ปี
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้นหาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบ มาตรา 989กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 และมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับอาวัลมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี มิใช่ 6 เดือน
โจทก์บรรยายฟ้องส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาท้ายฟ้อง(แก่ผู้ถือ) แล้วมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์สลักหลังเช็คดังกล่าวชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อนำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้มีชื่อได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คดังกล่าวในฐานะที่โจทก์สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์ชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วรับเช็คดังกล่าวคืนมา โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็ค เมื่อเช็คดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง และโจทก์ได้มีคำขอบังคับไว้ในคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าถูกใครใช้สิทธิไล่เบี้ยเมื่อใด ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ซึ่งมาตรา 989 วรรคแรกบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยนั้น บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า เป็นเพียงการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหาได้ถือว่าเป็นการสลักหลังโอนหรือสลักหลังลอยไม่ เมื่อโจทก์สลักหลังเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รับอาวัลจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์ประกัน เมื่อโจทก์ผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ได้ประกันไว้การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการใช้สิทธิของผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินไปตามเช็คแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งตนได้ประกันไว้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา989 วรรคแรก บัญญัติให้สิทธิไว้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด ฉะนั้นจึงต้องมีกำหนด 10 ปี ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) บัญญัติไว้ คดีตามคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 หาใช่กรณีโจทก์ผู้สลักหลังโอนเช็คแก่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังลอยโอนเช็คแก่ผู้ทรงใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คอันมีอายุความ6 เดือน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003บัญญัติไว้ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม
of 8