คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 921

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดชดใช้เงิน
การที่โจทก์มิได้ระบุชื่อผู้โอนเช็คพิพาทมาให้ทราบในการฟ้องนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร หาเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยไม่ การที่โจทก์รับซื้อเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ผู้โอนสลักหลังเช็คพิพาทนั้นก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กัน โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คด้วยชื่อร้าน ถือเป็นการลงลายมือชื่อของตน ผูกพันตามเช็ค
คำว่า "บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก หมายถึง บุคคลธรรมดาที่เขียนลายมือชื่อด้วยตนเองหรือนิติบุคคลตามกฎหมายที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อกระทำการแทนโดยจะลงชื่อสมมติ หรือนามแฝงหรือชื่อเสียงที่ใช้ในการค้าอันเป็นที่แน่นอนว่าหมายถึงบุคคลใดซึ่งมีเจตนาให้ลายมือชื่อที่ลงในตั๋วเงินนั้นเป็นชื่อของตน การที่จำเลยที่ 2 เขียนคำว่า "แสงรุ้งเรือง" ซึ่งเป็นชื่อร้านของจำเลยที่ 2 ลงด้านหลัง เช็คพิพาททั้งสองฉบับ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เจ้าของร้านเป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คดังกล่าวจึงเป็นการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900 วรรคแรก,919,989 วรรคแรก เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ประกัน (อาวัล) จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921,940 และ 989 วรรคแรก ย่อมอยู่ในฐานะต้องผูกพันใช้เงินตามเนื้อความในเช็คเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 967,989 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้ประกันอาวัล แม้เช็คไม่สมบูรณ์ และโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบ
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำมาแลกเงินสดจาก ส.ต่อมาเมื่อ ส.นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบ เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องรับผิดใช้เงินนั้นแก่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก,921,940,967 และมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้แล้ว จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น หาใช่เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ไม่ จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดประเด็นพิพาทข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: ผู้ทรงเช็ค vs. ผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 918, 989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: ผู้ทรงเช็ค (จากผู้ประกัน) มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเช็คถึงกำหนด
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918,989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) จำเลยมีหน้าที่รับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921,989จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) ทำให้ผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คเพื่อรับประกันหนี้: ความรับผิดของผู้สลักหลังต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาท เป็น เช็ค ที่ สั่ง ให้ ใช้ เงิน แก่ ผู้ถือ การ ที่ จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ ไว้ ที่ ด้านหลัง เช็ค ย่อม เป็น การ สลักหลัง เป็น ประกัน ( อาวัล ) สำหรับ ผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ทรง อย่างเดียว กับ ผู้สั่งจ่าย .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 1003
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็ค และการรับผิดในหนี้ค่าซื้อขาย
ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989เมื่อได้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ย เอาจากผู้สั่งจ่ายและเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่มีเหนือผู้สั่งจ่ายด้วยกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดอายุความเท่าใด สิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงต่อผู้สั่งจ่าย จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือมิใช่ผู้สลักหลังตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1003 จึงไม่นำอายุความ 6 เดือนตามมาตรานี้มาใช้บังคับ.
of 8