คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1310

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินและการชดใช้
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุง ถนนบนที่ดิน ที่ ส. อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน 4 ต้น โดยมีส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ที่ 1และที่ 3 ได้ โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหายแต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้ สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆ ซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลุกสร้างคดีนี้ เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ไม่สมบูรณ์เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนซื้อขาย และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
ส.ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดย ส.มีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อการซื้อขายรายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมซื้อขายย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส.อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน ส.มิใช่ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปีจำเลยที่ 1 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ไม่จำต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย การครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ส.ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โดยส.มีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อการซื้อขายรายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมซื้อขายย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส. อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน ส. มิใช่ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของแม้จะครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปี จำเลยที่ 1ก็มิได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ไม่จำต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างในที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต แม้เริ่มแรกสุจริต แต่ทราบภายหลังแล้วยังก่อสร้างต่อ ถือผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: พิจารณาเจตนาสุจริตและสิทธิการรื้อถอน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ 70ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1311หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่ การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนาสุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดิน: สิทธิการรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามป.พ.พ. มาตรา 1310, 1311 หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่
การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนา-สุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146)กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และมาตรา 1311 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กันโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169/1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
of 11