คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1310

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินสาธารณะ: แม้ที่ดินเป็นสาธารณะ แต่เมื่อสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองและให้เช่าได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ปลูกสร้างสะพานและอาคารบนสะพานโดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดให้สิ่งปลูกสร้างนั้นตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมจำเลยได้โอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้วและเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อมา แม้ภายหลังปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ให้จำเลยเช่านั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และนายอำเภอผู้ปกครองดูแลที่สาธารณะฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินแต่ก็มิได้อ้างสิทธิในสิ่งปลูกสร้างด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหาตกเป็นของรัฐไม่ โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จำเลยเช่าสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าให้โจทก์ และครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินสาธารณะ: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อที่ดินเป็นสาธารณะ
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ปลูกสร้างสะพานและอาคารบนสะพาน โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดให้สิ่งปลูกสร้างนั้นตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมจำเลยได้โอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้วและเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อมา แม้ภายหลังปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ให้จำเลยเช่านั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และนายอำเภอผู้ปกครองดูแลที่สาธารณะฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินแต่ก็มิได้อ้างสิทธิในสิ่งปลูกสร้างด้วยซึ่งปลูกสร้างดังกล่าว หากตกเป็นของรัฐไม่ โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จำเลยเช่าสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าให้โจทก์ และครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: ผลของสัญญาต่อเจ้าของเดิม และขอบเขตการบังคับใช้สัญญาต่อบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยร่วมให้จำเลยร่วมปลูกอาคารพานิชย์ ตลาดสด อาคารแผงลอยในที่พิพาท เมื่อสร้างเสร็จจำเลยร่วมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ทันที และจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยร่วมเช่าอาคารพานิชย์ 15 ปี อาคารแผงลอย 10 ปี ดังนี้ สัญญาระหว่างจะเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิต่อกันเท่านั้น เมื่อศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ถึงแม้จำเลยร่วมจะได้ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาท โจทก์จึงไม่ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยร่วม จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาออกไปจากที่พิพาทตามคำขอบังคับของโจทก์ แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมทำสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่พิพาทเป็นของวัดโจทก์ ต่อมาปลัดอำเภอได้แจ้ง ส.ล. 1 ว่าเป็นของทางราชการมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ทางอำเภอเชื่อ จึงออก ส.ค.1 ให้ ต่อมาเมื่อตั้งสุขาภิบาลขึ้นทางอำเภอได้โอนที่ดินพิพาทให้สุขาภิบาลพังโคนจำเลยครอบครอง จึงขอให้ศาลเพิกถอน ส.ค. 1 และนิติกรรมการรับโอนที่พิพาท โอนที่ดินคืนให้โจทก์ ถ้าไม่ยอมโอนคืนให้ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวก็เพื่อประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์นั่นเอง ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ และเมื่อศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แล้วก็ไม่ต้องเพิกถอน ส.ค.1 และไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมรับโอนที่พิพาทกับโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์เพราะการแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด ทั้งที่พิพาทรายนี้เป็นที่ดินมือเปล่าไม่อาจบังคับให้โอนกันทางทะเบียนได้ ที่พิพาทจึงย่อมกลับเป็นของโจทก์ตามเดิมตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่ไม่ผูกพันเจ้าของเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และการเพิกถอน ส.ค.1
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยร่วมให้จำเลยร่วมปลูกอาคารพานิชย์ตลาดสดอาคารแผงลอยในที่พิพาท เมื่อสร้างเสร็จจำเลยร่วมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ทันที และจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยร่วมเช่าอาคารพานิชย์ 15 ปีอาคารแผงลอย 10 ปี ดังนี้ สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิต่อกันเท่านั้น เมื่อศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ถึงแม้จำเลยร่วมจะได้ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทโจทก์จึงไม่ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยร่วม จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาออกไปจากที่พิพาทตามคำขอบังคับของโจทก์ แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมทำสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่พิพาทเป็นของวัดโจทก์ ต่อมาปลัดอำเภอได้แจ้ง ส.ค.1 ว่าเป็นของทางราชการมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ทางอำเภอเชื่อ จึงออก ส.ค.1 ให้ ต่อมาเมื่อตั้งสุขาภิบาลขึ้นทางอำเภอได้โอนที่ดินพิพาทให้สุขาภิบาลพังโคนจำเลยครอบครอง จึงขอให้ศาลเพิกถอน ส.ค.1 และนิติกรรมการรับโอนที่พิพาท โอนที่ดินคืนให้โจทก์ ถ้าไม่ยอมโอนคืนให้ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวก็เพื่อประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ และเมื่อศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แล้วก็ไม่จำต้องเพิกถอน ส.ค.1 และไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมรับโอนที่พิพาทกับโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์เพราะการแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด ทั้งที่พิพาทรายนี้เป็นที่ดินมือเปล่าไม่อาจบังคับให้โอนกันทางทะเบียนได้ ที่พิพาทจึงย่อมกลับเป็นของโจทก์ตามเดิมตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้โจทก์ ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส.ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วยก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้ เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การยินยอมโดยปริยาย และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้ โจทก์ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส. ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์ และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นโดยได้รับอนุญาต และสิทธิในการครอบครองเมื่อเจ้าของที่ดินเปลี่ยนมือ
การที่จำเลยปลูกสร้างเรือนลงในที่พิพาทโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เป็นที่ดินของผู้อื่นและเจ้าของที่ดินผู้นั้นได้อนุญาตให้จำเลยอาศัย เช่นนี้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ต่อมาเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมโอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป จำเลย ย่อมไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 921/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบนที่ดินผู้อื่นโดยได้รับอนุญาต สิทธิในการอยู่อาศัยเมื่อเจ้าของที่ดินเปลี่ยนมือ
การที่จำเลยปลูกสร้างเรือนลงในที่พิพาทโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นและเจ้าของที่ดินผู้นั้นได้อนุญาต ให้จำเลยอาศัย เช่นนี้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ต่อมาเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมโอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 921/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909-1910/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดิน - ข้อตกลงไม่จดทะเบียน - สิทธิจำกัด - การรื้อถอน
เรือนของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพราะแยกกันได้มาจากเจ้าของเดิมคนเดียวกัน โจทก์ตกลงให้เรือนคงอยู่ในที่พิพาทต่อไป ข้อตกลงนี้ไม่ได้จดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิเหนือพื้นดิน โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อไปได้ กรณีไม่เข้า มาตรา 1310

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของรัฐ - ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - การซื้อขายไม่สุจริต - สิทธิในที่ดิน
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวัง โดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเอง และมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
of 11