คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 717

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก: แม้แบ่งแยกโฉนดจำนองยังคงครอบคลุมทุกแปลง
คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาท (ปัจจุบันได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580) มาจดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ขอให้บังคับจำนองโฉนดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ ปัญหาการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอ้างว่าโจทก์เพิ่งหยิบยกและส่งสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับที่มีการแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580 ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก - จำนองยังคงครอบคลุมถึงส่วนแบ่งแยกแม้จะมีการแบ่งแยกโฉนด
ภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยกนี้ต้องติดจำนองทุกแปลง บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิมแม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วน จำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง เมื่อคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 717 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับจำนองเฉพาะที่ดินแปลงย่อยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดในคำพิพากษา และสิทธิการบังคับจำนองเหนือที่ดินที่แบ่งแยก
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยพิมพ์ตัวเลขโฉนดที่ดินผิดพลาด ศาลชั้นต้นมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเพียงการแก้ไขในรายละเอียดให้ตรงตามความเป็นจริง มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
โฉนดที่ดินที่จำนองมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองมิได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยอันจะทำให้การบังคับคดีไม่เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองยังคงมีผลผูกพันถึงที่ดินที่แบ่งแยก หากไม่มีความยินยอมจากผู้รับจำนอง
แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันอยู่นั่นเอง ตามป.พ.พ.มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกไปจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนอง: โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีหน้าที่ชำระหนี้จำนองทั้งหมด ไม่สามารถชำระเพียงบางส่วนได้
จำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ในอีกคดีหนึ่งฟ้องบริษัท ส.ขอให้บังคับจำนองที่ดินหลายแปลงซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่บริษัท ส. เป็นลูกหนี้อยู่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แบ่งแยกออกมาจากบริษัท ส. ที่ต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทหากปล่อยให้บังคับคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัท ส. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 แต่แม้ว่าจะมีการไถ่ถอนจำนองไปบางส่วนแล้ว ทรัพย์สินซึ่งจำนองทั้งหมดที่เหลืออยู่ก็จะต้องเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาจำนองของเงินจำนวนทั้งหมดที่ค้างอยู่ตามมาตรา 716 และ 717เมื่อหนี้จำนองที่บริษัท ส. มีต่อจำเลยยังเหลืออยู่อีก5,396,629.37 บาท แต่มีที่ดินพิพาทเหลืออยู่เพียงแปลงเดียวการไถ่ถอนจำนองก็ต้องชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัท ส.เป็นหนี้จำเลยอยู่ โจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียง 386,788.60 บาท ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด การไถ่ถอนจำนองเฉพาะบางส่วน และการคืนค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นหนี้จำเลยที่ 1จำนวน 42,000,000 บาทเศษ แม้หากจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,300,000 บาท การจำนองก็ยังคงครอบไปถึงที่ดินที่จำนองทุกแปลง เว้นแต่จำเลยที่ 1ผู้รับจำนองยินยอมด้วยก็สามารถปลอดจำนองที่ดินแปลงใดได้ดังนั้นการที่โจทก์ขอชำระหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 เพียงบางส่วนเพื่อให้ที่ดินพิพาทปลอดจากจำนองย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะยอมรับหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ก็ไม่มีทางที่จะบังคับจำเลยที่ 1 ให้ยินยอมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องแม้โจทก์ไม่โต้แย้งคำสั่ง โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หรือแม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวแต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลสูงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองย่อมมีผลผูกพัน แม้มีการซื้อขายที่ดินภายหลัง และผู้ซื้อได้มาโดยสุจริต
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นคนละแปลงกับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 408 ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 408 ที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองและนำยึดไว้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 408 จึงเป็นการมิชอบ ที่ดินพิพาทมีโฉนดของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3เลขที่ 408 ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบในขณะที่มี น.ส.3เป็นหลักฐานโดยมีชื่อผู้จำนองเป็นเจ้าของ การจำนองยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองเอากับที่ดินทั้งสองแปลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 และ 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในภายหลังแม้จะได้มาโดยสุจริตก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเหนือโฉนด: สิทธิจำนองย่อมผูกพันที่ดินแปลงเดิม แม้มีการเปลี่ยนมือโดยสุจริต
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นคนละแปลงกับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 408 ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 408 ที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองและนำยึดไว้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 408 จึงเป็นการมิชอบ
ที่ดินพิพาทมีโฉนดของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3เลขที่ 408 ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบในขณะที่มี น.ส.3เป็นหลักฐานโดยมีชื่อผู้จำนองเป็นเจ้าของ การจำนองยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองเอากับที่ดินทั้งสองแปลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 และ 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในภายหลังแม้จะได้มาโดยสุจริตก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย และการบังคับคดีตามสัญญาให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้ ฉ. และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ทั้งแปลงก่อน โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะแบ่งให้ ฉ. ครึ่งหนึ่งภายหลัง และจะระบุข้อตกลงไว้ในหนังสือสัญญาให้ด้วย โจทก์จึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาให้ ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่แบ่งที่ดินให้ ฉ. มิได้ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จำนองที่พิพาทไว้กับธนาคาร สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และแบ่งที่พิพาทที่ไถ่ถอนแล้วให้ ฉ. ครึ่งหนึ่ง ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ในกรณีที่โจทก์ชนะคดีและจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็อาจไถ่ถอนที่ดินพิพาทอันมีผลผูกพันส่วนที่จะยกให้ ฉ. เสียเอง แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาค่าไถ่ถอนคืนจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ สำหรับผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจร้องสอดหรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาในคดีนี้ได้อยู่แล้ว หรือคู่กรณีจะเลือกฟ้องร้องกันใหม่เป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการไถ่ถอนจำนองบางส่วนและการซื้อขายทรัพย์สินจำนอง: การกระทำละเมิดและสิทธิของผู้ซื้อ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 713 เป็นเรื่องผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆ ก็ได้. ไม่ใช่เรื่องไถ่ถอนจำนองบางส่วน. ส่วนมาตรา 717 เป็นเรื่องทรัพย์สินที่จำนองแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่จำนองนี้ก็ยังคงครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน.
ก. จำนองที่ดินและตึก 5 คูหาไว้กับจำเลยที่ 1 ดังนี้. ทรัพย์ที่จำนองมิได้แบ่งออกเป็นส่วน ที่ดินและตึกที่จำนองเป็นทรัพย์ส่วนเดียวเท่านั้น.
ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองบางส่วนได้.ถือไม่ได้ว่าผู้รับจำนองกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งทำสัญญาจะซื้อทรัพย์จำนองจากผู้รับจำนอง.
ก. เป็นลูกหนี้จำนองจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทวงถามแล้ว. ก. ไม่สามารถชำระหนี้ได้. จำเป็นต้องขายที่ดินและตึกที่จำนองไว้ ก. จึงมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นธุระในการขายโดยกำหนดราคาห้องแต่ละห้องไว้โดยชัดเจน. ดังนี้ การมอบหมายมีลักษณะไปในทางที่จะให้จำเลยที่ 1 ควบคุมการซื้อขายทรัพย์จำนอง. มากกว่าที่จะให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ก. ยังไม่ถนัด.
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ฟ้อง ก. ผู้จำนองเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในธุรกิจการงานของจำเลยที่ 1. มิได้มีเจตนาจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด. เมื่อฟ้องแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นสิทธิตามกฎหมายของจำเลย. จะว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ตกลงซื้อทรัพย์ที่จำนองหาได้ไม่.
ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2. มิได้กล่าวไว้เลยว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดอย่างไร. โจทก์กล่าวในฎีกาลอยๆว่า. โจทก์ไม่เห็นชอบด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2. ถือว่าโจทก์มิได้ยกข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา.
of 2