คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 196 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8381/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: ศาลฎีกาวินิจฉัยการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่ มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับโดยมาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี หากปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา 193 แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าการดำเนินคดีไม่มีข้อยุ่งยาก หากโจทก์ทราบนัดแล้วไม่ได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่และการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาล
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินตามเช็คจำนวน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้เป็นคดีแพ่งสามัญแต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และสั่งให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้ว ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ มิได้บัญญัติให้ถือว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญได้ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ไม่มาตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ แม้จำเลยขอเลื่อน
ในคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ ให้อำนาจแก่ศาลที่จะจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ทราบนัดแล้วมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ ทั้งการที่จำเลยขอเลื่อนคดีนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าหากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน แม้คดีโจทก์จะเป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากและสั่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้บัญญัติให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญ โจทก์จึงไม่อาจขอพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณา จำเป็นต้องแจ้งนัดให้จำเลยทราบโดยชอบตามกฎหมาย แม้คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลมิอาจพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวได้
จำเลยที่ 7 มีภูมิลำเนาแน่นอน จึงไม่มีกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยที่ 7ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งวันนัดแก่จำเลยที่ 7 โดยการประกาศหน้าศาลเพียงประการเดียวและไม่ได้สั่งให้ส่งหมายไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ด้วย ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีอำนาจกระทำได้โดยมิต้องรอให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเสียก่อนเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 196 วรรคสอง ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยที่ 7 ได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัดตามมาตรา 196 วรรคสอง (3) ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 7 ไปฝ่ายเดียวได้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้ผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ก็หาอาจพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยถือว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบเริ่มตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป