คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การพิจารณาความเชื่อมโยงของข้อหาและพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินศาสนสมบัติจากอำเภอไชยา และอำเภอพระแสง หลายครั้งรวมเป็นเงิน 52,922 บาท 55 สตางค์ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยคดีถึงที่สุดไปแล้วส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยว่าทุจริตเบียดบังเงินศาสนสมบัติสำหรับซ่อมแซมพระอุโบสถวัดน้ำหัก อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดเดียวกันไปเป็นจำนวน30,000 บาท แม้ว่าเหตุในคดีนี้จะเกิดอยู่ในช่วงระยะเวลาของคดีก่อนสถานที่เกิดเหตุอยู่ที่เดียวกันและเงินที่จำเลยทุจริตเบียดบังเอาไปนั้นเป็นเงินประเภทเดียวกันก็ตาม แต่ตามคำบรรยายฟ้องยังไม่ชี้ชัดลงไปว่าเงินจำนวน 30,000 บาท ที่โจทก์หาว่าจำเลยเบียดบังในคดีนี้ เป็นจำนวนเดียวกันรวมอยู่ในคดีก่อนหรือไม่ และโจทก์สามารถจะฟ้องรวมมาในคดีก่อนได้อยู่แล้วหรือไม่จึงชอบที่จะฟังจากการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยเสียก่อน ไม่ควรสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ – การพิจารณาความเชื่อมโยงของข้อกล่าวหา – จำเป็นต้องสืบพยานก่อนวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินศาสนสมบัติจากอำเภอไชยา และอำเภอพระแสงหลายครั้งรวมเป็นเงิน 52,922 บาท 55 สตางค์ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยคดีถึงที่สุดไปแล้วส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยว่าทุจริตเบียดบังเงินศาสนสมบัติสำหรับซ่อมแซมพระอุโบสถวัดน้ำหัก อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดเดียวกันไปเป็นจำนวน 30,000 บาท แม้ว่าเหตุในคดีนี้จะเกิดอยู่ในช่วงระยะเวลาของคดีก่อน สถานที่เกิดเหตุอยู่ที่เดียวกันและเงินที่จำเลยทุจริตเบียดบังเอาไปนั้นเป็นเงินประเภทเดียวกันก็ตาม แต่ตามคำบรรยายฟ้องยังไม่ชี้ชัดลงไปว่าเงินจำนวน 30,000 บาท ที่โจทก์หาว่าจำเลยเบียดบังในคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันรวมอยู่ในคดีก่อนหรือไม่และโจทก์สามารถจะฟ้องรวมมา ในคดีก่อนได้อยู่แล้วหรือไม่ จึงชอบที่จะฟังจากการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยเสียก่อน ไม่ควรสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินสวัสดิการข้าราชการ: เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่พิเศษ ไม่ถือเป็นฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
เทศบาลมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ขายทุเรียนในงานตลาดทุเรียนให้จังหวัด จังหวัดจะนำไปใช้อย่างใดก็ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบเงินนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเสมียนตราจังหวัดเก็บรักษาและทำบัญชีไว้ โดยถือว่าเป็นเงินของจังหวัด ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำเงินนี้เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการผู้มีเงินเดือนน้อยของจังหวัดนั้นได้กู้ยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ได้วางระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการข้าราชการขึ้นและตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินสวัสดิการข้าราชการ: การพิจารณาฐานความผิดทางอาญา
เทศบาลมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ขายทุเรียนในงานตลาดทุเรียนให้จังหวัด จังหวัดจะนำไปใช้อย่างใดก็ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบเงินนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเสมียนตราจังหวัดเก็บรักษาและทำบัญชีไว้ โดยถือว่าเป็นเงินของจังหวัด ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำเงินนี้เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการเพื่อให้ข้าราชการผู้มีเงินเดือนน้อยของจังหวัดนั้นได้กู้ยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ได้วางระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการข้าราชการขึ้นและตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดการกระทำ ความเสียหาย และช่วงเวลาที่ชัดเจน หากไม่ชัดเจนฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไปปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไปงบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษา งบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดีฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมาคือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาทจากนายเสถียร ศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไปจึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดียักยอกทรัพย์: การระบุรายละเอียดการกระทำผิดและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514 เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไป ปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไป งบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษางบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการเบียดบังแสตมป์ฤชากรจากสำนวนคดี ไม่มีหลักฐานแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเสมียนศาล มีหน้าที่เก็บรักษาสำนวนความผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตั้งให้จำเลยเป็นกรรมการปลดเผาสำนวนร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปลดเผาสำนวน จำเลยเอาแสตมป์ฤชากรที่ฉีกออกจากสำนวนที่จะต้องปลดเผาไปเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าจำเลยนำแสตมป์เก่าที่ใช้แล้วนั้นไปใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังยักยอกแสตมป์เหล่านั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 147, 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการเบียดบังแสตมป์ฤชากร แม้ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีหลักฐานความผิดฐานยักยอก
จำเลยเป็นเสมียนศาล มีหน้าที่เก็บรักษาสำนวนความผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตั้งให้จำเลยเป็นกรรมการปลดเผาสำนวนร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปลดเผาสำนวน จำเลยเอาแสตมป์ฤชากรที่ฉีกออกจากสำนวนที่จะต้องปลดเผาไปเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าจำเลยนำแสตมป์เก่าที่ใช้แล้วนั้นไปใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังยักยอกแสตมป์เหล่านั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 147,157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่: การกำหนดความรับผิดของเจ้าพนักงานและลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยาจำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงินจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การกำหนดความรับผิดชอบในการเก็บรักษาเงิน และความผิดของลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
of 26