พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินของข้าราชการ: พิจารณาบทมาตรา 147, 151, และ 157
จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดมีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงินของราชการส่วนจังหวัดและราชการส่วนอื่น ๆ โดยเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินที่ตนรับไว้ในตำแหน่งหน้าที่เป็นประโยชน์ส่วนตน ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ใช่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 147 แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาต่อข้าราชการทุจริต: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลยนายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายจำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวา ดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอและโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้ แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชี ซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไปเมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวา ดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอและโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้ แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชี ซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไปเมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาของนายอำเภอในฐานะกรรมการสุขาภิบาล: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีอำนาจสั่งดำเนินคดีได้
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลย นายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินศาสนสมบัติยักยอกเงินเข้าตนเอง มีความผิดตามมาตรา 147
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต จึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินศาสนสมบัติที่เบิกมาตามหน้าที่เข้าตัวเอง มีความผิดตามมาตรา 147 แม้เป็นเงินนอกงบประมาณ
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริตจึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงานเก็บเงิน แม้ได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้บังคับบัญชา
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินรายได้ต่าง ๆ ของเทศบาลรวมทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยได้เก็บหรือรับเงินจากผู้นำมาชำระ จึงเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน เมื่อยักยอกเงินซึ่งได้รับมอบหมายไว้ตามหน้าที่ ย่อมมีความผิดตามมตรา 147
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บ เร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเอง จำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอก จะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บ เร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเอง จำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอก จะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์: การมอบหมายหน้าที่เก็บภาษีและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินรายได้ต่างๆ ของเทศบาลรวมทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยได้เก็บหรือรับเงินจากผู้นำมาชำระ จึงเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน เมื่อยักยอกเงินซึ่งได้รับมอบหมายไว้ตามหน้าที่ ย่อมมีความผิดตามมาตรา 147
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บเร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเองจำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอกจะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บเร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเองจำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอกจะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกยักยอก ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา และศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุจริตเบียดบังยักยอมเงินประเภทต่าง ๆ ไป มิได้บรรยายว่าจำเลยได้รับเงินประเภทใดมาเท่าใด ยักยอกเงินประเภทนั้นไปเท่าใด ไม่ปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ตรวจพบอะไร บรรยายว่าได้เบียดบังยักยอกเงินค่าดวงตราไปรษณีย์หรือดวงตราไปรษณีย์เป็นสองแง่ก็ไม่มีทางทราบว่าจำเลยยักยอกอะไร ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158
(อ้างฎีกาที่ 175/2497)
(อ้างฎีกาที่ 175/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบ หากไม่ระบุรายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกยักยอกอย่างชัดเจน ทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุจริตเบียดบังยักยอกเงินประเภทต่างๆไป มิได้บรรยายว่าจำเลยได้รับเงินประเภทใดมาเท่าใดยักยอกเงินประเภทนั้นไปเท่าใด ไม่ปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ตรวจพบอะไรบรรยายว่าได้เบียดบังยักยอกเงินค่าดวงตราไปรษณีย์หรือดวงตราไปรษณีย์เป็นสองแง่ ก็ไม่มีทางทราบว่าจำเลยยักยอกอะไร ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างฎีกาที่ 175/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่ากฎหมาย ไม่ถือเป็นการเบียดบังทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอมีหน้าที่รับเรื่องราวจดทะเบียน ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของราษฎร ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากผู้ขายเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดและยึดเอาส่วนเกินไว้ เงินส่วนเกินไม่ใช่เป็นเงินของทางราชการหรือของรัฐบาล จึงไม่ใช่ทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
ฉะนั้น การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (แม้จะเกินกว่ากฎหมายกำหนด) ก็ดี การทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินก็ดี จึงไม่ใช่เป็นการกระทำหรือเบียดบังต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
ฉะนั้น การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (แม้จะเกินกว่ากฎหมายกำหนด) ก็ดี การทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินก็ดี จึงไม่ใช่เป็นการกระทำหรือเบียดบังต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147