คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่ากฎหมาย ไม่ถือเป็นการเบียดบังทรัพย์
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอมีหน้าที่รับเรื่องราวจดทะเบียน ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของราษฎร ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากผู้ขายเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดและยึดเอาส่วนเกินไว้เงินส่วนเกินไม่ใช่เป็นเงินของทางราชการหรือของรัฐบาล จึงไม่ใช่ทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147
ฉะนั้น การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม(แม้จะเกินกว่ากฎหมายกำหนด)ก็ดี การทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินก็ดี จึงไม่ใช่เป็นการกระทำหรือเบียดบังต่อทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสารสิทธิ และการพิสูจน์หน้าที่ความรับผิดชอบ
(1) เมื่อโจทก์บรรยายว่า จำเลยเป็นเสมียนตรา มีหน้าที่จัดทำ รักษา และรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและการเบิกจ่ายเงินและมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินไป มีรายการต่างๆ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเงินนั้นอยู่ในความรับผิดของจำเลย ทั้งระบุวันเวลาทำผิดแต่ละรายการไว้ด้วย นั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมส่วนที่ว่าจำเลยรับมาจากใครที่ไหน เมื่อใด เป็นรายละเอียดไม่ต้องกล่าวไว้
(2) เมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่ารู้การกระทำของจำเลยเมื่อใด
(3) เมื่อพยานโจทก์และจำเลยเบิกความตรงกันว่าเสมียนตรามีหน้าที่ทำบัญชีเงินรับเงินและจ่ายเงินของแผนกมหาดไทย แม้นายอำเภอจะสั่งให้คนอื่นเป็นหัวหน้าแต่ก็เพื่อช่วยคอยสอดส่องควบคุมอีกชั้นหนึ่งโดยมิได้ให้จำเลยพ้นจากหน้าที่เสมียนตราไป เช่นนี้ จำเลยก็ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ฯลฯ ที่แก้ไขแล้ว
(4) บัญชีเงินต่างๆ ของทางราชการกระทรวงมหาดไทย เช่นแบบ 2 บัญชีรับจ่ายเงินเบ็ดเตล็ดและแบบ 7 บัญชีเงินการจร มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้วและรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีกซึ่งตรงตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) จึงเป็นเอกสารสิทธิทางราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266
(5) ผู้ไม่มีสิทธิ แต่ได้ลงชื่อของผู้มีสิทธิในช่องบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามแบบ 2 แบบ 7 ย่อมเป็นการปลอมเอกสาร และเป็นข้อสารสำคัญแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานรถไฟทุจริต แก้ไขตั๋วรถไฟที่ใช้แล้ว นำมาขายซ้ำ เบียดบังเงินค่าโดยสาร
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานห้ามล้อ ได้นำตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็วที่จำเลยขายแล้วซึ่งถูกขูดลบถอนแก้เครื่องหมายแสดงว่าใช้ไม่ได้แล้ว เพื่อให้ใช้ได้อีกมาขายให้แก่ผู้โดยสารรถไฟ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตและเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยจำหน่ายตามหน้าที่เป็นของจำเลย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 147 และ 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานรถไฟทุจริตขายตั๋วที่ใช้แล้ว แก้ไขข้อมูล และเบียดบังเงิน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานห้ามล้อได้นำตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็วที่จำเลยขายแล้วซึ่งถูกขูดลบถอนแก้เครื่องหมายแสดงว่าใช้ไม่ได้แล้วเพื่อให้ใช้ได้อีกมาขายให้แก่ผู้โดยสารรถไฟ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตและเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยจำหน่ายตามหน้าที่เป็นของจำเลย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 147 และ 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินผลประโยชน์ของทางราชการ มีเจตนาทุจริต แม้จะชำระคืนภายหลังก็ถือว่ามีความผิด
จำเลยรับราชการทำหน้าที่สมุห์บัญชีเกี่ยวกับการเงิน ได้รับเงินผลประโยชน์จากผู้ที่นำมาชำระ แต่มิได้นำเงินส่งคลัง ทั้งมิได้ลงบัญชีรับเงินตามระเบียบ จนกระทั่งผู้บังคับบัญชาไปตรวจลบัญชีพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึงสองเดือน แม้จำเลยจะหาเงินมาชำระคืนครบถ้วนแล้วก็ตาม นับว่าคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเบียดบังเงินผลประโยชน์ของทางราชการ มีเจตนาทุจริต
จำเลยรับราชการทำหน้าที่สมุห์บัญชีเกี่ยวกับการเงิน ได้รับเงินผลประโยชน์จากผู้ที่นำมาชำระ แต่มิได้นำเงินส่งคลัง ทั้งมิได้ลงบัญชีรับเงินตามระเบียบ จนกระทั่งผู้บังคับบัญชาไปตรวจบัญชีพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึงสองเดือนแม้จำเลยจะหาเงินมาชำระคืนครบถ้วนแล้วก็ตามนับว่าคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82-86/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่คุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ การยักยอกเงินจึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่ของคุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ แม้ยักยอกเงินในหน้าที่ก็ไม่ใช่กระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน เงินของคุรุสภาไม่ใช่เงินงบประมาณของแผ่นดิน แม้จำเลยจะเป็นข้าราชการ แต่เมื่อเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของราชการหรืออยู่ในความรักษาของราชการ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 ไม่ได้ และแม้จำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 แต่ขอให้ลงโทษตามมาตรา 147,151 ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 352 ได้
ฟ้องบรรยายว่าผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพพร้อมด้วยคำแถลงซึ่งระบุว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ แสดงว่ารับสารภาพตลอดถึงเรื่องร้องทุกข์ด้วย
คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะพอใจตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินของคุรุสภาจากธนาคารออมสินเพื่อจ่ายให้แก่นางสำรวย จำเลยรับเงินแล้วยักยอกเสีย เงินก็ยังเป็นของคุรุสภาอยู่ นางสำรวยไม่ใช่ผู้เสียหายไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ให้คดีระงับไป
เจ้าหน้าที่ของผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยความว่าเงินที่จำเลยยักยอกไปนั้นทางคุรุสภาประจำจังหวัดได้รับคืนจากจำเลยแล้ว ไม่ประสงค์จะให้จำเลยได้รับโทษทางอาญาต่อไป ดังนี้ ไม่ใช่การถอนคำร้องทุกข์หรือการยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการรับเงินอากรแล้วยักยอก – อำนาจสั่งการของผู้ว่าราชการ – การปฏิบัติหน้าที่แม้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทยผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนั้น นำส่งแผนกมหาดไทยเพื่อนำฝากคลังตามระเบียบผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัวไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลัดอำเภอทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอาวุธปืนแล้วยักยอกเงินและทำให้เอกสารสูญหาย มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนอาวุธปืนส่งเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งอนุญาตแล้วจึงเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ร้องขออนุญาตนั้น. หากรับคำขอจดทะเบียนและเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดเสีย และทำให้คำขอจดทะเบียนสูญหายไปบ้างบางส่วนนั้น จำเลยย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาผิดตามมาตรา 151,154,157,158,352 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยปลัดอำเภอเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอาวุธปืนและทำให้เอกสารสูญหาย มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนอาวุธปืนส่งเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งอนุญาตแล้วจึงเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ร้องขออนุญาตนั้น หากรับคำขอจดทะเบียนและเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดเสีย และทำให้คำขอจดทะเบียนสูญหายไปบ้างบางส่วนนั้น จำเลยย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาผิดตามมาตรา 151, 154, 157, 158, 352 ด้วยไม่
of 26