คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน คดีขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ.มาตรา 147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 147 ไม่ได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน ความผิด 352 ขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท. เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความแม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการขาดอายุความของความผิดอันยอมความได้
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นสวัสดิการต่อกรมตำรวจ หาใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ไม่ได้ แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินค่าบำรุงฌาปนสถาน ไม่เข้าข่ายความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่เป็นความผิดฐานยักยอก และคดีขาดอายุความ
เงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานกรมตำรวจมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจ มิใช่เงินของทางราชการ หรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 คงมีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยกฟ้องข้อหาเบียดบังทรัพย์ เนื่องจากเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของแผ่นดิน และคดีขาดอายุความ
เงิน รายได้ ฌา ปน สถานที่ จำเลย เบียดบัง ไม่ได้ ส่ง กรมตำรวจ ตาม ที่ โจทก์ กล่าวหา เป็น เงิน นอก งบประมาณ ไม่ใช่ เงิน รายได้ ของ แผ่นดิน และ ความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน เบียดบัง เอาไว้ เป็น ของ ตน หรือ ของ ผู้อื่น ต้อง เป็น ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา แต่เมื่อ เงิน ที่ จำเลย ยักยอก เอาไป ใช้ ส่วนตัว ใน คดี นี้ เป็น เงิน ค่าบำรุง ที่ เจ้า ภาพ งาน ศพ มา ใช้ ฌา ปน สถาน มอบ ให้ แก่ จำเลย เพื่อ เก็บ ส่ง เป็น เงิน สวัสดิการ ต่อ กรมตำรวจ เท่านั้น มิใช่ เงิน ของ ทางราชการ หรือ ของ รัฐบาล ที่ จำเลย ผู้เป็น เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ จัดซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็น ความผิดอันยอมความได้ ซึ่ง ผู้เสียหาย จะ ต้อง ร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด แต่ ปรากฏว่า ผู้ช่วย อธิบดี กรมตำรวจ ปฏิบัติ ราชการ แทน อธิบดี กรมตำรวจ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท . เพิ่ง ได้รับ คำสั่ง จาก ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ให้ ไป ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2530 การ ร้องทุกข์ ซึ่ง จะ ต้อง ดำเนินการ ตั้งแต่ รับคำ สั่ง จึง เกิน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง และ รู้ตัว ผู้กระทำผิด แล้ว คดี จึง ขาดอายุความ แม้ จำเลย ไม่ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น พิจารณา ได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157,91 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 จำคุกจำเลย 35 กรรม กรรมละ 5 ปี กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายน้อยลงจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษา 7.50 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกรรมไม่เกิน 5 ปี เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตราดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147, 157, 91ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จำคุกจำเลย 35 กรรมกรรมละ 5 ปี กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายน้อยลงจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษา 7.50 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกรรมไม่เกิน 5 ปี เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินภาษีที่รับชำระจากผู้เสียภาษี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 157
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้รักษาการตำแหน่งสมุห์บัญชีอำเภอ มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรส่งคลังจังหวัด เมื่อรับเงินค่าภาษีแล้วต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระเงินบางราย จำเลยไม่ออกให้บางรายออกให้ไม่ตรงตามจำนวนเงินที่รับไว้แล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เบียดบังทรัพย์เป็นประโยชน์ตนโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินชำรุดของราชการโดยสุจริตและนำเงินชำระค่าทรัพย์สินใหม่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้โดยเปิดเผยและสุจริตใจเพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติขายตามระเบียบของทางราชการ แล้วจำเลยนำเงินที่ขายได้ซื้อรถตัดหญ้าในราคาสูงกว่าราคาที่ขายเรือได้ 400 บาท ให้แก่ทางราชการในทันที แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือของผู้อื่น จึงไม่ผิด ป.อ. มาตรา 147
จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรม-ชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก
of 26