พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการซ้ำซ้อน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้กลับคำพิพากษาเดิม
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันและคาบเกี่ยวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ดังนี้เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อกันในคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ: หากแยกฟ้องและศาลไม่รวมพิจารณา จะนับโทษต่อกันไม่ได้
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ดังนี้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่: เมื่อเจ้าพนักงานไม่มีความผิด ผู้สนับสนุนก็ไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่3 ไม่ได้กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้วจำเลยที่ 5จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย คงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรกเท่านั้น แม้จำเลยที่ 5 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงิน กสช.เกินจริงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ความผิดมาตรา 148
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินตามโครงการ กสช. ได้สั่งให้คณะกรรมการสภาตำบลแก้ไขหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เกินความเป็นจริง แล้วจำเลยเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำการทุจริตโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน มิใช่ว่าจำเลยกระทำโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่งแล้วกระทำการทุจริตในภายหลัง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 149 อีกด้วยไม่
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงินเกินจริงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ความผิดมาตรา 148
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินตามโครงการ กสช.ได้สั่งให้คณะกรรมการสภาตำบลแก้ไขหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เกินความเป็นจริง แล้วจำเลยเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำการทุจริตโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน มิใช่ว่าจำเลยกระทำโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่งแล้วกระทำการทุจริตในภายหลัง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา148 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 149 อีกด้วยไม่
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทางอาญา: การกำหนดวันเวลาเริ่มกระทำความผิดที่ถูกต้องเพื่อมิให้ขาดอายุความ
เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยขาดบัญชีไประหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่17 มิถุนายน 2505 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 โดยหาได้มีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่แสดงว่าจำเลยเริ่มกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2505 ตามฟ้องไม่ เป็นเพียงแต่ถือเอาตามระยะเวลาดังกล่าวเพื่อมิให้คดีโจทก์ขาดอายุความเท่านั้น เพราะหากฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2505 แล้วคำนวณหถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 20 ปี คดีจะขาดอายุความ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวในฟ้อง จึงปราศจากหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และมิใช่วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอันแท้จริง เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดที่แท้จริงเมื่อใดและการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ขาดอายุความแล้วก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการกำหนดวันเวลากระทำผิดในคดีอาญา การฟ้องโดยมีเจตนาเลี่ยงอายุความย่อมไม่ชอบ
เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยขาดบัญชีไประหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน 2505 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 โดยหาได้มีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่แสดงว่าจำเลยเริ่มกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2505 ตามฟ้องไม่ เป็นเพียงแต่ถือเอาตามระยะเวลาดังกล่าวเพื่อมิให้คดีโจทก์ขาดอายุความเท่านั้น เพราะหากฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2505 แล้วคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 20 ปี คดีจะขาดอายุความ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวในฟ้อง จึงปราศจากหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และมิใช่วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอันแท้จริง เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดที่แท้จริงเมื่อใดและการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ขาดอายุความแล้ว ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ – ผู้สนับสนุน – ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มีเจตนาทุจริตมาแต่แรกร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทำบัญชีรายชื่อผู้รับจ้างและหลักฐานการเบิกจ่ายค่าแรงค่าควบคุมงาน และกรอกข้อความรับรองชื่อผู้รับจ้างขุดดินและผู้ควบคุมงานตามโครงการต่อเติมสร้างทำนบดินของตำบลเป็นเท็จและเบิกเงินจากทางราชการมากกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายให้แก่ราษฎรที่ทำงาน และควบคุมงาน แล้วเบียดบังเอาเป็นของตนและของผู้อื่นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและโดยทุจริตจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ต้องมีความผิดและโดยที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาตำบลโดยตำแหน่ง ซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลในการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 ข้อ 24 การที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่ไปตามระเบียบดังกล่าวย่อมถือได้ว่าปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515ไม่ได้ระบุให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 จะกำหนดให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลก็หาให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่จำเลยที่ 10 เป็นราษฎรเป็นกรรมการควบคุมงานต่อเติมทำนบดังกล่าวที่สภาตำบลแต่งตั้งกันขึ้นมาเองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงต้องมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยอื่นเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ - ความผิดสนับสนุน - ฐานะเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มีเจตนาทุจริตมาแต่แรกร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทำบัญชีรายชื่อผู้รับจ้างและหลักฐานการเบิกจ่ายค่าแรงค่าควบคุมงาน และกรอกข้อความรับรองชื่อผู้รับจ้างขุดดินและผู้ควบคุมงานตามโครงการต่อเติมสร้างทำนบดินของตำบลเป็นเท็จและเบิกเงินจากทางราชการมากกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายให้แก่ราษฎรที่ทำงาน และควบคุมงาน แล้วเบียดบังเอาเป็นของตนและของผู้อื่นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและโดยทุจริตจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ต้องมีความผิดและโดยที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาตำบลโดยตำแหน่ง ซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลในการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 ข้อ 24 การที่จำเลยที่ 5 ที่ 6ปฏิบัติหน้าที่ไปตามระเบียบดังกล่าวย่อมถือได้ว่าปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่9 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515ไม่ได้ระบุให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524จะกำหนดให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลก็หาให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่จำเลยที่ 10 เป็นราษฎรเป็นกรรมการควบคุมงานต่อเติมทำนบดังกล่าวที่สภาตำบลแต่งตั้งกันขึ้นมาเองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงต้องมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยอื่นเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฐานสนับสนุนการทุจริตในโครงการสร้างงานฯ โดยจำแนกสถานะเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานและยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาตำบลโดยตำแหน่ง ซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลในการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 ข้อ 24 การที่จำเลยที่ 5 และที่ 6ปฏิบัติหน้าที่ไปตามระเบียบดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 7ที่ 8 และที่ 9 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบล ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 ซึ่งไม่ได้ระบุให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาแม้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบทพ.ศ. 2524 จะกำหนดให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลก็หาทำให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่ สำหรับจำเลยที่ 10 เป็นราษฎรเป็นกรรมการควบคุมงานต่อเติมทำนบที่สภาตำบลแต่งตั้งกันขึ้นมาเอง ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยทั้งหมดโดยทุจริตร่วมกันเบียดบังเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการสร้างงานในชนบท จำเลยที่ 5 และที่ 6 ย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 ซึ่งไม่ใช่เจ้าพนักงานคงมีความผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุน.