คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเงินรายได้ของแผ่นดิน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเงินรายได้ของหน่วยราชการที่ตนสังกัดและได้รับเงินรายได้ไว้ แต่มิได้นำเงินนั้นส่งคลังตามระเบียบซึ่งตามปกติจะต้องนำส่งคลังในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับเงินไว้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ให้นำส่งคลังในวันรุ่งขึ้นถัดไปที่เป็นวันทำการทั้งจำเลยมิได้ลงบัญชีรับเงินไว้เป็นหลักฐานจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมเจ้าสังกัดตรวจพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษจำเลยจึงได้นำเงินส่งคลัง นับว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเงินรายได้ของหน่วยงาน ไม่นำส่งคลัง
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเงินรายได้ของหน่วยราชการที่ตนสังกัดและได้รับเงินรายได้ไว้ แต่มิได้นำเงินนั้นส่งคลังตามระเบียบซึ่งตามปกติจะต้องนำส่งคลังในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับเงินไว้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ให้นำส่งคลังในวันรุ่งขึ้นถัดไปที่เป็นวันทำการทั้งจำเลยมิได้ลงบัญชีรับเงินไว้เป็นหลักฐานจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมเจ้าสังกัดตรวจพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษ จำเลยจึงได้นำเงินส่งคลัง นับว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินรายได้ของราชการ มีเจตนาทุจริตเบียดบังเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเงินรายได้ของหน่วยราชการที่ตน สังกัด แต่มิได้นำเงินนั้นส่งคลังตามระเบียบซึ่งตามปกติจะต้องนำเงินส่งคลังในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับเงินไว้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ให้นำส่งคลังในวันรุ่งขึ้นถัด ไปที่เป็นวันทำการทั้งจำเลยมิได้ลงบัญชีรับเงินไว้เป็นหลักฐาน จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมเจ้าสังกัดตรวจพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึง5 เดือนเศษ จำเลยจึงได้นำเงินส่งครบถ้วนนั้น นับว่าคดีมีเหตุผลเชื่อ ได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกเงินของพนักงานรัฐ: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่-เบียดบังทรัพย์: ศาลแก้โทษ ตัดความผิดมาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีคำสั่งกองกำกับการตำรวจภูธรที่จำเลยสังกัดกำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างซ่อมแซมสถานที่ราชการและมีหน้าที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างเขียนใบเสร็จรับเงินเสนอรองผู้กำกับการตำรวจภูธรต้นสังกัดลงชื่อเป็นผู้รับเงินและนำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้ส่งมอบแก่สมุห์บัญชีกองกำกับการฯเพื่อส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไปจำเลยมิได้นำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้จำนวน7,600บาทส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามระเบียบจนพนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบและแนะนำให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคลังจำเลยจึงปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นผิดตามป.อ.มาตรา147,157,158แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา147ซึ่งเป็นบทเฉพาะของมาตรา157แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังทรัพย์ของเจ้าพนักงานและการปรับบทลงโทษ: ศาลฎีกายกข้อกฎหมายที่ศาลล่างปรับบทผิดพลาด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีคำสั่งกองกำกับการตำรวจภูธรที่จำเลยสังกัดกำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างซ่อมแซมสถานที่ราชการและมีหน้าที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างเขียนใบเสร็จรับเงินเสนอรองผู้กำกับการตำรวจภูธรต้นสังกัดลงชื่อเป็นผู้รับเงินและนำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้ส่งมอบแก่สมุห์บัญชีกองกำกับการฯเพื่อส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไปจำเลยมิได้นำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้จำนวน7,600บาทส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามระเบียบจนพนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบและแนะนำให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคลังจำเลยจึงปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147,157,158แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147ซึ่งเป็นบทเฉพาะของมาตรา157แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่มิได้ทำให้ทรัพย์สินของราชการสูญหาย แม้จะนำไปฝากไว้กับผู้อื่นและถูกลัก
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการไว้ใช้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาได้นำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไปฝากไว้กับบุคคลอื่นและถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำให้ทรัพย์นั้นสูญหายจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา158.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่สูญเสียทรัพย์ของราชการจากการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลรักษา และไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการไว้ใช้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาได้นำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไปฝากไว้กับบุคคลอื่นและถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนตามป.อ.มาตรา147และจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำให้ทรัพย์นั้นสูญหายจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา158.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์: การปฏิบัติหน้าที่ราชการแม้ไม่ได้สังกัดหน่วยงานโดยตรง
จำเลยทั้งสองเป็นครูโรงเรียนวิสุทธิกษัตรีสังกัดกรมสามัญศึกษาไม่ได้สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนแต่จำเลยทั้งสองได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทางธุรการและการเงินของโรงเรียนผู้ใหญ่วิสุทธิกษัตรีสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยราชการด้วยกันย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานและได้ปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ไม่จัดการนำส่งประธานกรรมการเก็บรักษาเงินตามระเบียบจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์โดยทุจริตอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147ซึ่งความผิดดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้จะร้องทุกข์เกิน3เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีก็หาขาดอายุความไม่.
of 26