คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเด็ก/เยาวชน: จุดเริ่มต้นระยะเวลาผัดฟ้อง เริ่มเมื่อถูกจับกุม ไม่ใช่แค่มอบตัว
การฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 บัญญัติให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม ถ้าฟ้องไม่ทันก็จะต้องมีการขอผัดฟ้องต่อศาลตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กฎหมายมาตรานี้กำหนดไว้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 51 พนักงานอัยการจะฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดตามที่มาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนไว้เป็นพิเศษต่างหากจากการฟ้องคดีอาญาต่อผู้ใหญ่ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฟ้องคดีกำหนดไว้ไม่ปล่อยให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนเมื่อใดก็ได้ตามอำเภอใจ แต่จุดเริ่มของการนับระยะเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนแล้วเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนแล้ว ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูกควบคุมตัว พนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2547 และปล่อยตัวจำเลยไปในวันเดียวกัน พนักงานสอบสวนไม่ได้ผัดฟ้องจำเลยต่อศาล เนื่องจากไม่ได้จับกุมและไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้ ดังนี้ การนับระยะเวลาตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 จึงยังไม่เกิดขึ้น เพราะการเข้ามอบตัวของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ซึ่งจะต้องผัดฟ้องและได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดให้ฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับ การนับระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในคดีเยาวชนและครอบครัว
การที่จำเลยถูกจับในคดีอื่นและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับจึงไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และ 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือผัดฟ้องหรือต้องได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6821/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: ไม่เริ่มนับหากถูกควบคุมในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมและควบคุมในคดีอื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาคดีนี้ให้จำเลยทราบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมในคดีนี้ การนับระยะเวลาเพื่อฟ้องคดีตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ยังไม่เกิดขึ้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มต้นนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: การมอบตัวไม่ใช่การจับกุม
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและส่งตัวจำเลยไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในวันเดียวกัน แล้วปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่มีการควบคุมตัวจำเลยไว้ หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน แสดงว่าจำเลยไม่ถูกพนักงานสอบสวนจับกุม เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับกุม จึงยังไม่มีจุดเริ่มต้นในการนับระยะเวลาในการฟ้องคดี โจทก์สามารถฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเด็ก ต้องมีการจับกุมก่อน จึงจะอยู่ในบังคับมาตรา 51/53 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วจำเลยให้การปฏิเสธโดยจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวไว้ การเข้ามอบตัวของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุม การฟ้องคดีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย มีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใด ศาลหนึ่งได้ ซึ่งก็ได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็น ศาลที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติ และศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดี เยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่จำเลยกระทำความผิดฉะนั้น เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยอยู่แล้ว จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนิน การสอบสวน ไม่อาจนำมาตรา 51 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดย ไม่ได้ขอผัดฟ้องหรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว, กำหนดเวลาฟ้องคดี, การผัดฟ้อง, และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า "คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นแต่ถ้า (1)... (2) มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้น มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51วรรคสองและวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสองหรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีเป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้ จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ, กำหนดเวลาฟ้อง, และข้อยกเว้นกรณีพนักงานสอบสวนรับผิดชอบในเขตอำนาจศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า"คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้า (1)...(2) มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้นมีความหมายว่าหากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51 วรรคสอง และวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้อง จำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าใน ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมี ศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับ ความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติ ในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตาม มาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่ นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ พนักงานอัยการโจทก์ จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเยาวชน: เกณฑ์การกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี และข้อยกเว้นกำหนดเวลาฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ และกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: กรณีพนักงานสอบสวนในเขตอำนาจศาล
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวและคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วพนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วยแต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้วแม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่และหากพนักงานอัยการมีเหตุ จำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับถูกแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด