พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบถ้วนส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนพิจารณาคดี
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลย ส่วนที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีมิได้ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาให้ครบองค์คณะ ซึ่งเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) นั้น ก็มีผลเพียงให้คำพิพากษาและกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นภายหลังไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หามีผลให้ต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาก่อนมีคำพิพากษาด้วยไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลย แต่กลับให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา โดยให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่การสืบพยานโจทก์เป็นต้นมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 เวลา 9 นาฬิกา ถึงเวลา 16.30 นาฬิกา มีความหมายว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะออกนั่งพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา และพิจารณาคดีต่อเนื่องกันไปจนเสร็จการพิจารณา เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้วก็จะมีคำพิพากษาโดยเร็วต่อเนื่องกันไปเช่นกัน เมื่อจำเลยไม่มาศาลก่อนศาลเริ่มต้นสืบพยานโจทก์โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีจึงถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จการพิจารณาและโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกหน้าสำนวนแสดงว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้ว ต่อมาเวลา 14 นาฬิกา ของวันเดียวกันทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบ มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เสนอคำขอเลื่อนคดีต่อศาลก่อนหรือในวันนัดพิจารณา ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะล่วงเลยเวลานั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ: การขาดการจดบันทึกการนั่งพิจารณาและการพิจารณาพยานหลักฐานโดยไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ กำหนดนัดพิจารณาให้โจทก์จำเลยมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยาน ก่อนถึงกำหนดนัด ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดโจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาล 14 ฉบับ แล้ววันเดียวกันนั้น ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นมิได้จดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาว่ามีคู่ความฝ่ายใดมาศาลบ้าง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ทั้งไม่ปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาดังกล่าว จำเลยที่ 2 มาศาลหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดดังกล่าวให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การด้วย อันเป็นเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ตามมาตรา 204 กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ตามมาตรา 206 วรรคสอง ประกอบมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม การพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะสามารถอ้างส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายที่ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (1) (2), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลพิพากษาตามพยานโจทก์ ไม่ใช่ขาดนัดพิจารณา จึงขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบพยานก่อน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลแรงงานกลางได้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดหน้า เมื่อถึงกำหนดนัด ทนายโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่มีพยานจำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางจึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและมีคำพิพากษาไปในวันดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดหรือขาดนัดพิจารณาแพ้คดี แต่เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดไปตามรูปเรื่องที่ปรากฏในคำฟ้องคำให้การและพยานโจทก์ ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้เรียกร้องจากทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเสียชีวิต
นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการสบคบกันฉ้อฉลเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง โจทก์ยังฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. เจ้ามรดกได้ทำไว้กับโจทก์ด้วย จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องคดีนี้หลังจากได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ผิดพลาด และการขอพิจารณาคดีใหม่ที่ไม่อ้างเหตุผลชัดเจน
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก-ขาดนัดยื่นคำให้การ: ศาลต้องมีคำสั่งขาดนัดพิจารณา ก่อนสั่งให้ส่งเอกสาร
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 204 และ มาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 204 และ มาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการพิจารณาคดีต่อไปได้ แม้จำเลยมิได้สืบพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จโดยจำเลยมิได้อยู่ในศาล ก็มีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียวตามมาตรา 204 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่(1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยมิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 204 และ 206
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งบัญญัติใหม่ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2543 แก่คดีที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาล, การงดการบังคับคดี, และอำนาจศาลในการพิจารณาคำขอใหม่
คำสั่งใดๆ ของศาลล่าง เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดหรือบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาได้แล้วคู่ความย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลสูงได้เมื่อเป็นกรณีที่อุทธรณ์ได้แล้ว ควรอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะวินิจฉัยได้ การที่สั่งให้ทุเลาการบังคับหรือให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนนั้น เมื่อมีอุทธรณ์มาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ ไม่ใช่มีผลให้เพิกถอนคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ไม่ได้ตัดอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีในเมื่อมีคำขอให้พิจารณาใหม่เพราะคำขออาจเป็นความจริงมีเหตุที่ควรให้พิจารณาใหม่ แต่ศาลยังจะต้องฟังพยานของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนถ้าไม่ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้แล้วคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อาจไม่มีผล และเสียหายแก่ผู้ขอให้พิจารณาใหม่ได้ จึงย่อมอยู่ในอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ไม่ได้ตัดอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีในเมื่อมีคำขอให้พิจารณาใหม่เพราะคำขออาจเป็นความจริงมีเหตุที่ควรให้พิจารณาใหม่ แต่ศาลยังจะต้องฟังพยานของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนถ้าไม่ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้แล้วคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อาจไม่มีผล และเสียหายแก่ผู้ขอให้พิจารณาใหม่ได้ จึงย่อมอยู่ในอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้