พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากเด็กและกระทำชำเรา: อำนาจปกครอง, การพราก, และความรับผิดชอบ
แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนอาญานั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นความบกพร่องเฉพาะในคดีส่วนแพ่ง มิได้มีผลกระทบต่อคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาไปก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513-3526/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างกรณีบำนาญ การคำนวณดอกเบี้ยและการปรับเงินบำนาญตามระเบียบ
ระเบียบโรงเรียนของมูลนิธิจำเลยที่ 1 ว่าด้วยบำนาญ พ.ศ. 2549 ข้อ 15 ระบุไว้ว่า ครูที่ได้รับบำนาญจะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ในอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินบำนาญที่ได้รับในเดือนพฤษภาคม ข้อกำหนดดังกล่าวชัดแจ้งว่า การจะได้รับการปรับขึ้นเงินบำนาญในทุกปีการศึกษาใหม่จะต้องได้รับการพิจารณาเสียก่อน
คำว่า "พิจารณา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า ตรวจตรา ตริตรอง สอบสวน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตรา หรือตริตรอง หรือสอบสวน ก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิจารณาเป็นสำคัญว่า สมควรปรับเพิ่มเงินบำนาญแก่ครูผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือไม่ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่บทกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือที่ 3 ต้องปรับขึ้นเงินบำนาญให้แก่โจทก์ทั้งสิบสี่ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ไม่
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนและจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 24 เมื่อ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียน และการดำเนินกิจการของโรงเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820
โจทก์ทั้งสิบสี่ซึ่งเป็นครูโรงเรียนเอกชนและเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับใบรับอนุญาตและฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะโรงเรียนเอกชนและเป็นนายจ้าง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำว่า "พิจารณา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า ตรวจตรา ตริตรอง สอบสวน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตรา หรือตริตรอง หรือสอบสวน ก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิจารณาเป็นสำคัญว่า สมควรปรับเพิ่มเงินบำนาญแก่ครูผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือไม่ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่บทกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือที่ 3 ต้องปรับขึ้นเงินบำนาญให้แก่โจทก์ทั้งสิบสี่ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ไม่
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนและจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 24 เมื่อ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียน และการดำเนินกิจการของโรงเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820
โจทก์ทั้งสิบสี่ซึ่งเป็นครูโรงเรียนเอกชนและเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับใบรับอนุญาตและฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะโรงเรียนเอกชนและเป็นนายจ้าง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ที่ขาดทุนสะสม และการปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 การพิจารณาสิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระไปแล้วจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และข้อบังคับของจำเลยตลอดจนคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ โดยในเรื่องการจ่ายคืนค่าหุ้นนั้น แม้สหกรณ์แต่ละแห่งสามารถกำหนดในข้อบังคับของตนเองได้ตามมาตรา 34 (4) ประกอบมาตรา 43 (5) ก็ตาม แต่ทั้งนี้ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ยังคงตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินลุล่วงไปได้อย่างมั่นคงเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ เมื่อความปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีว่า จำเลยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี มียอดขาดทุนสะสม 188,292,559.62 บาท มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่ายอดรวมสินทรัพย์ 206,667,002.51 บาท อันต้องด้วยกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (8) และมาตรา 22 (2) โดยเฉพาะคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ตามมาตรา 22 นี้ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษทางอาญาตามมาตรา 132 ข้อบังคับของจำเลยที่ได้มีการแก้ไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นไปโดยชอบ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการพนัน: สัญญาเงินกู้ที่เกิดจากหนี้พนันฟุตบอลเป็นโมฆะตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระเงินที่ค้างตามสัญญากู้ยืมเงิน จําเลยให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการที่จําเลยเป็นหนี้การพนันทายผลฟุตบอลกับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้ามือ จึงมีมูลหนี้อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินสืบเนื่องมาจากการที่จําเลยเป็นหนี้การพนันทายผลฟุตบอลแก่โจทก์ จึงหาก่อให้เกิดหนี้อันจะเรียกร้องกันได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 853 จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์จากการขุดดินในที่ดินที่ครอบครองต่อเนื่อง
โจทก์ครอบครองทำประโยชน์และปักเสาปูนรอบที่พิพาท ทั้งเป็นผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ตามใบ ภ.บ.ท. 5 เลขที่สำรวจ 862/2521 ต่อมาสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเป็นที่ดินราชพัสดุและมีลักษณะเป็นทางสาธารณประโยชน์ ขณะเกิดเหตุโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทโดยครอบครองต่อเนื่องจากผู้ขายที่ดินให้โจทก์ ดังนั้น หากมีบุคคลอื่นเข้ามาขุดดินทำเป็นร่องวางท่อระบายน้ำในที่ดิน อันเป็นการรบกวนการครอบครองและทำให้เสียหายซึ่งที่ดินที่โจทก์ครอบครองดังกล่าว ย่อมเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิและรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ในขณะนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การมีกรรมสิทธิ์ในเคหสถานของตนเองเป็นอุปสรรค แม้จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ภายหลัง
พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 มาตรา 7 (2) กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้สิทธิข้าราชการที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เบิกค่าเช่าบ้านโดยไม่มีบทบัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้เฉพาะในขณะที่ข้าราชการยื่นขอใช้สิทธิ ดังนี้ จึงต้องตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวต้องบังคับใช้ตลอดเวลาที่ข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ กล่าวคือ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านนั้นต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ตนไปประจำในช่วงเวลาที่ขอใช้สิทธินี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผู้พิพากษาต้องแสดงเหตุผลชัดเจน หากไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
ตามคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านขอให้เปลี่ยนตัวผู้พิพากษาท่านอื่นแทน ณ. ไม่ได้แสดงรายละเอียดโดยแจ้งชัดพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่าที่ ณ. นั่งพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 1163/2561 ซึ่งแม้จะเป็นคู่ความเดียวกันด้วยนั้น มีพฤติกรรมอย่างไรที่ ณ. อาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีนี้เสียความยุติธรรมไปอย่างไรด้วย แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในคำร้องว่าขออนุญาตนำสืบในรายละเอียดชั้นไต่สวนคำร้องต่อไป แต่เมื่อคำร้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดในเบื้องต้นว่ามีเหตุที่จะคัดค้านผู้พิพากษาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) และมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้อย่างไรเสียแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานว่ามีข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำร้องหรือไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอนำสืบรายละเอียดในชั้นไต่สวนคำร้องนั้นก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้อ้างไว้ในคำร้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายที่จะคัดค้านผู้พิพากษาได้ ในชั้นนี้ให้ยกคำร้องนั้นเป็นการชอบแล้ว และคำสั่งเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผู้พิพากษาต้องมีเหตุตามกฎหมายชัดเจน การอ้างเหตุในชั้นไต่สวนโดยไม่ระบุในคำร้องไม่เพียงพอ
ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านขอให้เปลี่ยนตัวผู้พิพากษาท่านอื่นเข้ารับผิดชอบสำนวนคดีนี้แทน ไม่ได้แสดงรายละเอียดโดยแจ้งชัดพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่า ณ. มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนี้อย่างไรหรือมีเหตุการณ์อื่นอันมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไปอย่างไร อันเป็นเหตุตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (1) และมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้เพื่อคัดค้านผู้พิพากษา แม้จำเลยจะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่า รายละเอียดจำเลยที่ 1 ขอนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องนี้และหลีกเลี่ยงไม่เขียนข้อความในคำร้องเพื่อกระทบต่อจิตสำนึกในการเคารพผู้พิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำร้องของจำเลยที่ 1 ไม่มีรายละเอียดในเบื้องต้นว่ามีเหตุที่จะคัดค้านผู้พิพากษาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (1) และมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้อย่างไรเสียแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานว่า มีข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำร้องหรือไม่ ส่วนที่จำเลยที่ 1 จะขอนำสืบรายละเอียดในชั้นไต่สวนคำร้องนั้นก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้อ้างไว้ในคำร้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายที่จะคัดค้านผู้พิพากษาได้ ในชั้นนี้ให้ยกคำร้องเป็นการชอบแล้ว และคำสั่งเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองในคดีฟอกเงิน: สิทธิได้รับดอกเบี้ยจนถึงวันขายทอดตลาด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 52 เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลพิจารณากำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของตนตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 บัญญัติว่า จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ย ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต้นเงินที่คงเหลือตามสัญญาจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิของผู้รับจำนองตามกฎหมาย ย่อมไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์