คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 334

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 394 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายป้ายโฆษณาของวัดคู่แข่งด้วยความไม่พอใจ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ แต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่
การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คนออกจากวัดถ้ำสิงโตทองมาจอดรอที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัดรางม่วงแล้วจำเลยที่ 1นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาโดยขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม เมื่อจำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วงและกระทืบจนหลอดไฟแตกแล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขับรถเข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วงที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัดรางม่วงเนื่องจากไฟฟ้าวัดถ้ำสิงโตทองดับถึง 2 ครั้ง การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอนจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริตไม่ผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สินเพื่อแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยแก้ฎีกาและปฏิเสธว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ คำแก้ฎีกาจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คน ออกจากวัด ถ. มาจอดรถที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัด ร. จำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาแล้วขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 จึงได้ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัด ร. และกระทีบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายดังกล่าวขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขึ้นรถขับกลับไปเข้าวัด ถ. แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ และสาเหตุที่จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกทำลายแผ่นป้ายดังกล่าวก็เนื่องมาจากความไม่พอใจวัด ร. ที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัด ร. การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวกันเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง ที่จะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสอง หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย จึงมิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยมีเจตนาประสงค์ต่ออำนาจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยแก้ฎีกาและปฏิเสธว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ คำแก้ฎีกาจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ20 คน ออกจากวัด ถ. มาจอดรอที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัด ร. จำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาแล้วขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 จึงได้ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัด ร.และกระทืบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายดังกล่าวขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขึ้นรถขับกลับไปเข้าวัด ถ. แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ และสาเหตุที่จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกทำลายแผ่นป้ายดังกล่าวก็เนื่องมาจากความไม่พอใจวัด ร.ที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัด ร. การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวกันเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง ที่จะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสอง หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย จึงมิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต และเป็นการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินที่พิพาท
ผู้เสียหายฟ้องจำเลยทั้งสองขอแบ่งนามรดก และข้าวเปลือกเหนียวที่เก็บเกี่ยวได้จากนาพิพาท ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองได้ไปตกลงกันที่สถานีตำรวจว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่เอาข้าวเปลือกเหนียวที่ได้จากการทำนาพิพาทไปขาย แต่ยอมให้แต่ละฝ่ายเอาไปสีรับประทานได้ ผู้เสียหายทำผิดข้อตกลงดังกล่าว โดยผู้เสียหายเอาข้าวเปลือกเหนียวจำนวน50 ถุงปุ๋ย ไปให้ น. เพื่อเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ผู้เสียหายยืมจาก น. มา จำเลยทั้งสองจึงปิดยุ้งข้าวพิพาทการกระทำของจำเลยทั้งสองก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์พิพาท ซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีนั่นเอง ดังนั้น แม้จะปรากฏว่า จำเลยทั้งสองจะได้กวาดข้าวเปลือกเหนียวไปกองรวมไว้ ในยุ้งข้าวด้วยก็ตามพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสอง ก็ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิด: จากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างระบายความเครียด ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริงแต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทางอาญาเปลี่ยนจากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริง แต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลักทรัพย์ไม่ปรากฏ ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยใช้ค้อนทุบกระจก ด้านข้าง ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย อันเป็นความผิดฐานทำให้ เสียทรัพย์ และจำเลยไม่มี เจตนาลักทรัพย์ แต่การที่จำเลยนำสืบรับว่าได้ใช้ค้อนทุบ กระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายเพื่อระบาย ความเครียด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลย ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: การตีความทางกฎหมายและขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริง คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักสัญญาณโทรศัพท์เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ การพิจารณาโทษและการรอการลงโทษ
คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 334 ไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)
of 40