พบผลลัพธ์ทั้งหมด 394 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่ชำระเงินครบ การนำรถยนต์ไปโดยพลการถือเป็นการลักทรัพย์
โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้จากจำเลยในราคา 310,000 บาท จำเลยรับชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และ 458 แม้จะได้ความว่าโจทก์ร่วมยังค้างชำระค่ารถยนต์ตู้อยู่ก็ตาม หากโจทก์ร่วมเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ร่วมผิดสัญญา จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อขอให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้ครบถ้วน จำเลยหามีสิทธิที่จะติดตามเอารถยนต์ตู้คันที่ขายไปนั้นคืนมาโดยพลการได้ไม่
การที่จำเลยบอกกับ ท. ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท. มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท. มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553
การที่จำเลยบอกกับ ท. ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท. มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท. มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหลังศาลเปลี่ยนข้อกล่าวหา
แม้ความผิดที่โจทก์ฟ้องคือความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์จะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกและศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกอันเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าไม่ถือเป็นทรัพย์ที่ถูกลักยอกได้ หากมิได้กระทำแทนโจทก์
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองมีต่อลูกค้ารวม 23 ราย ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองกลับใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกค้าบางรายชำระค่าสินค้าแก่จำเลยทั้งสอง แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมิใช่วัตถุมีรูปร่างที่สามารถเคลื่อนที่ได้ อันอาจจะมีการเอาไปได้ตามความหมายของคำว่า ทรัพย์ ในความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไปขอรับเงินหรือเช็คค่าสินค้าจากลูกค้านั้น ก็ไม่ได้เป็นการกระทำแทนโจทก์ ดังนั้น เงินและเช็คดังกล่าวจึงยังมิใช่ทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ แต่เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและการกระทำที่เข้าข่ายลักทรัพย์ ศาลตัดสินว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองมีต่อลูกค้ารวม 23 รายให้แก่โจทก์ภายหลังจากนั้นจำเลยกลับใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกค้าบางรายชำระค่าสินค้าแก่จำเลย แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมิใช่วัตถุมีรูปร่างที่สามารถเคลื่อนที่ได้อันอาจจะมีการเอาไปได้ตามความหมายของคำว่า ทรัพย์ ในความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไปขอรับเงินหรือเช็คค่าสินค้าจากลูกค้านั้น ก็ไม่ได้เป็นการกระทำแทนโจทก์ เงินและเช็คดังกล่าวจึงยังมิใช่ทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีมูลความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ แต่เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝากลูกค้าได้ แต่ต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับฝาก การเบิกถอนเงินไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ ปรากฏว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปนั้นเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองเงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์และการมีอำนาจฟ้องคดีธนาคารพาณิชย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต เงินฝากในบัญชีของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามที่โจทก์ทั้งสองฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากพฤติกรรมเบิกจ่ายเงินเท็จของพนักงาน แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ ศาลลงโทษฐานฉ้อโกงได้
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง การที่จำเลยจัดทำใบเบิกเงินทดรองจ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริงเบิกเงินไปจากโจทก์ร่วมมิใช่เอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในใบเบิกเงินทดรองจ่ายว่าต้องนำเงินไปชำระค่าใช้จ่าย การอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินไปเกิดจากการที่พนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมหลงเชื่อข้อความในเอกสารจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำขอบังคับในคดีนี้กับคดีของศาลแรงงานกลางมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้ที่พนักงานอัยการฟ้องและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีของศาลแรงงานกลางมีที่มาจากมูลกรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานพนักงานอัยการไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่กรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหาย จำเลยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยมีเจตนาฉ้อโกงเงินของโจทก์ร่วมไปคดีนี้และคดีอื่นจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงทุกคดีแล้วจะเกิน 10 ปี ไม่ได้ คดีนี้จำเลยถูกลงโทษเต็มตามกำหนดโทษดังกล่าวแล้วจึงไม่อาจนำโทษคดีนี้ไปนับต่อจากโทษคดีอื่นได้
คำขอบังคับในคดีนี้กับคดีของศาลแรงงานกลางมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้ที่พนักงานอัยการฟ้องและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีของศาลแรงงานกลางมีที่มาจากมูลกรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานพนักงานอัยการไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่กรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหาย จำเลยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยมีเจตนาฉ้อโกงเงินของโจทก์ร่วมไปคดีนี้และคดีอื่นจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงทุกคดีแล้วจะเกิน 10 ปี ไม่ได้ คดีนี้จำเลยถูกลงโทษเต็มตามกำหนดโทษดังกล่าวแล้วจึงไม่อาจนำโทษคดีนี้ไปนับต่อจากโทษคดีอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอคืนเงินจากความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ แม้คำฟ้องระบุเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งได้ออกให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสด ถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายโดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายและธนาคาร ซ. ดังนั้น คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการนำเอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้เสียหาย ที่จำเลยลักไปจากผู้เสียหาย ไปทำการถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายอยู่ด้วย เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ทรัพย์แทนผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9559/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สำเร็จในสถานที่ทำงาน: ศาลฎีกาแก้ไขข้อกฎหมายและลงโทษฐานลักทรัพย์ธรรมดา
การที่จำเลยเอายาและเครื่องเวชภัณฑ์ใส่ไว้ในถุงพลาสติก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการไปเอาจากห้องคลังยาโดยตรงหรือในช่วงที่จำเลยเอาไปวางบนชั้นด้านหลังเคาน์เตอร์เภสัชกร ย่อมถือได้ว่าจำเลยเคลื่อนย้ายทรัพย์จากที่ตั้งตามปกติและเข้าถือเอาทรัพย์นั้นแล้ว ทั้งจำเลยยังถือถุงพลาสติกออกไปแม้จะยังไม่พ้นจากห้องจ่ายยาเพราะมีผู้พบเห็นเสียก่อนทำให้จำเลยเอาทรัพย์ไปไม่ได้ ก็ถือว่าความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้วหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่ การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้และไม่ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย นอกจากนี้จำเลยเป็นลูกจ้างประจำและทำงานอยู่ในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในเป็นสถานที่ทำงานของจำเลยและเหตุเกิดในช่วงเวลาที่จำเลยทำงาน จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วจึงลักทรัพย์ในสถานที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดามิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา แม้โจทก์ไม่ได้ขอ แต่การบรรยายฟ้องชิงทรัพย์ครอบคลุมความผิดฐานลักทรัพย์
แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษหลายกรรม แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 339 ไว้ซึ่งความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ