พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด การฟ้องคดีขาดอายุความ การพิพากษาแก้ผลคดี
โจทก์ที่ 1 เป็นคู่หมั้น โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาโจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้น ซึ่งเป็นคดีมิใช่เกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว แต่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้อนจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความสามารถยกขึ้นว่ากล่าวภายหลังได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้จากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับคู่ความที่จะต้องนำสืบหรือมีข้อกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 มาร่วมเจรจาและรับรู้วันประกอบพิธีหมั้น อันเป็นธรรมเนียมประเพณีไทยที่ต้องมีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมารับรู้การหมั้น ถือว่า จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาหมั้นรายนี้แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 ถือเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อเป็นเกียรติแก่การหมั้นเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงมิใช่คู่สัญญาในการหมั้นครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ถอนหมั้นกันเมื่อใดแต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ได้แจ้งเรื่องถอนหมั้นให้ประธานในพิธีหมั้นทราบแล้ว ก็ถือว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้มีการถอนหมั้นกันอย่างเป็นทางการในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ทราบ
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ยังศาลที่มีเขตอำนาจ ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ คดีโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ที่ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด
แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้อนจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความสามารถยกขึ้นว่ากล่าวภายหลังได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้จากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับคู่ความที่จะต้องนำสืบหรือมีข้อกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 มาร่วมเจรจาและรับรู้วันประกอบพิธีหมั้น อันเป็นธรรมเนียมประเพณีไทยที่ต้องมีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมารับรู้การหมั้น ถือว่า จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาหมั้นรายนี้แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 ถือเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อเป็นเกียรติแก่การหมั้นเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงมิใช่คู่สัญญาในการหมั้นครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ถอนหมั้นกันเมื่อใดแต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ได้แจ้งเรื่องถอนหมั้นให้ประธานในพิธีหมั้นทราบแล้ว ก็ถือว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้มีการถอนหมั้นกันอย่างเป็นทางการในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ทราบ
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ยังศาลที่มีเขตอำนาจ ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ คดีโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ที่ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัดและค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาความเสียหายทางชื่อเสียงและโอกาสทางอาชีพ
พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจองสถานที่จัดงานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งการติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรส ล้วนส่อแสดงว่าจำเลยประสงค์จะสมรสกับโจทก์ การให้แหวนกันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการหมั้นและเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรสกันในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปสมรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ