คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: การออกข้อกำหนดโดยศาลต้องมีเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) ประกอบ มาตรา 30 การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดๆ ตามมาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 ประการ คือ ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วประการหนึ่ง และออกข้อกำหนดใดๆ โดยสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรประการที่สอง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลหรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรทั้งสองประการตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) ตามภาพถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาเอกสารหมาย ผ.1 นั้นก็ไม่ใช่การออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ดังนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะนำเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงที่คัดลอกสำเนาจากเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงหมาย ร.35 และ ร.36 ไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่ทำให้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 30 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การข่มขู่พยานในบริเวณศาลเป็นความผิดในตัว แม้ไม่มีข้อกำหนดศาลก่อน
ป.วิ.พ.มาตรา 30 เป็นเรื่องที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดี หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่ความผิดมาตรา 31 (1) ฐานประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดในตัว ศาลไม่ต้องออกข้อกำหนดก่อน และการที่ผู้ถูกกล่าวหาพูดข่มขู่จะทำอันตรายต่อชีวิตผู้กล่าวหาก่อนที่ผู้กล่าวหาจะเข้าเบิกความเป็นพยานในคดีอาญา โดยข่มขู่ในบริเวณศาลก็ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเพียงพอที่จะถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 31 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การข่มขู่พยานในบริเวณศาล ถือเป็นความผิดฐานประพฤติตนไม่เรียบร้อย แม้ไม่มีข้อกำหนดจากศาล
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 30 เป็นเรื่องที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดี เป็นความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และศาลจะออกข้อกำหนดก่อนโดยห้ามมิให้ผู้ใดก่อความรำคาญหรือประวิงคดี ขัดขวางการพิจารณาคดีของศาลหากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่ความผิดมาตรา 31 (1) ฐานประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดในตัวศาลไม่ต้องออกข้อกำหนดก่อน และไม่จำต้องกระทำต่อหน้าศาล หากมีการกระทำภายในบริเวณศาลก็ถือว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเพียงพอที่จะถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 33 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 โดยการเก็บเอกสารคืนจากศาลไว้เกิน 2-3 วัน
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีได้รับเอกสารที่สูญหายไปจากสำนวนความของศาลคืนมาแล้ว ยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเช่นนี้มิใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องพิจารณาบริบทการกระทำผิด หากไม่ได้เกิดขึ้นในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจลงโทษ
จำเลยมิได้กระทำความผิด แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยดังที่พนักงานคุมประพฤติรายงานก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนให้ฟังได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่พนักงานคุมประพฤติรายงาน และแม้จำเลยกระทำการดังกล่าวจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจ ศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามฟ้องแล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและการออกข้อกำหนดห้ามเข้าพื้นที่
ผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเองว่าเป็นอัยการและหลอกลวงผู้กล่าวหาในบริเวณศาลชั้นต้น ทั้งมีการรับเงินที่โรงอาหารซึ่งอยู่ภายในบริเวณศาลชั้นต้นด้วย แม้เหตุจะมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาลแต่ก็เกิดในบริเวณศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้โดยหาจำต้องดำเนินการทางพนักงานสอบสวนดังที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างไม่
การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30ได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วด้วย แต่การออกข้อกำหนดห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาลตามคำสั่งของศาลล่างทั้งสองไม่ปรากฏว่า กระทำเพื่อให้กระบวนพิจารณาเรื่องใดดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว กรณีจึงไม่ต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ศาลหลอกลวงผู้เสียหาย และการออกข้อกำหนดห้ามเข้าพื้นที่ศาล
ผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเองว่าเป็นอัยการและหลอกลวงผู้กล่าวหาในบริเวณศาลชั้นต้น ทั้งมีการรับเงินกันที่โรงอาหารซึ่งอยู่ภายในบริเวณศาลชั้นต้น แม้เหตุจะมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาลแต่ก็เกิดในบริเวณศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้โดยหาจำต้องดำเนินการทางพนักงานสอบสวนไม่
การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วด้วย แต่การออกข้อกำหนดแก่ผู้ถูกกล่าวหา ห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ปรากฏว่ากระทำเพื่อให้กระบวนพิจารณาเรื่องใดดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว กรณีจึงไม่ต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 30 ในอันที่ศาลจะพึงออกข้อกำหนดแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิเข้าถึงศาลต้องมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและกระบวนการยุติธรรม
ข้อกำหนดใด ๆ ที่ศาลออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้นการที่ศาลอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาล เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาถูกผู้กล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกร้องเงินที่สถานีตำรวจและทางโทรศัพท์ โดยอ้างว่าเพื่อนำไปจ่ายค่าเดินเรื่องแก่คนในศาลที่จะทำให้ศาลรอการลงอาญาแก่จำเลย ซึ่งตามหนังสือร้องเรียนผู้ถูกกล่าวหามิได้เข้าไปกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบริเวณศาลแต่อย่างใด ดังนั้น การกล่าวอ้างของผู้ถูกกล่าวหามิได้ทำให้กระบวนพิจารณาต้องดำเนินไปโดยไม่เที่ยงธรรมหรือล่าช้า ข้อกำหนดของศาลชั้นต้นไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7-8/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ละเมิดอำนาจศาล แม้กระทำก่อนฟ้อง
แม้การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาจะกระทำตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เข้าใจดีอยู่แล้วว่า ในที่สุดก็จะต้องมีการดำเนินคดีในศาลเป็นการต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ ทำให้กระบวนพิจารณาในศาลไม่อาจดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมได้ ต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ซึ่งแม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1จะมิใช่คู่ความ แต่การกระทำที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการได้แก่การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30 อันว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่ง กับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกประการหนึ่ง เฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่จะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังที่ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ได้
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษและศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งเป็นการชักจูงให้เยาวชนกระทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของผู้กล่าวหาที่ 1 เอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดแก่อนาคตของเยาวชน มิใช่เป็นการกระทำเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาและถูกผู้อื่นชักจูงให้หลงเชื่อ จึงไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาลและการขัดขวางกระบวนพิจารณา ศาลฎีกายืนโทษปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกเลิกข้อกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30,31 และมาตรา 33คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นต่อไปได้ เพราะโจทก์ได้คัดค้านไว้แล้วขอให้ยกเลิกข้อกำหนดของศาลชั้นต้นเสียนั้น โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้วเมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาลยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
of 4