พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพัน vs. สิทธิครอบครองจากสัญญาประนีประนอม ผู้รับสิทธิไม่มีผลผูกพันสัญญาเดิม
แม้สัญญาให้ระหว่างโจทก์ผู้ให้กับจำเลยผู้รับได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดไว้ในสัญญาโดยให้จำเลยปลูกบ้านและกรีดยางพาราในที่ดินของโจทก์พร้อมทั้งให้ส่งรายได้ส่วนแบ่งให้โจทก์อันเป็นการให้โดยมีค่าภาระติดพันก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิคงมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับสิทธิในที่ดินจากจำเลย เพราะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสามได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวไว้และอยู่รู้เห็นด้วยขณะทำสัญญาให้ดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อขณะจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องที่ 3 จำเลยยังเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาเนื่องจากผู้รับให้ไม่ช่วยเหลือผู้ให้เมื่อยากไร้ และมีมูลเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531
โจทก์กู้เงินจาก ร. โดยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้ ร. ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาท และรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนมา ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ในการที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทน และการที่ ร. ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทไว้โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง ไม่ใช่กรณีที่มีภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินพิพาท การให้ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้เงินโจทก์ซื้อยารักษาตัวอันเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้ โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันผลงานและผลกระทบต่อการหักกลบลบหนี้: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิหักเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าจ้างที่โจทก์จะจ่ายให้จำเลยที่ 1แต่ละงวดเพื่อเป็นประกันผลงาน แต่โจทก์มิได้หักเงินจำนวนนี้ไว้เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันเงินจำนวนนี้ไว้กับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่เข้าค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวแล้วโจทก์ก็จะหักเงินจำนวนนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 และโจทก์มีสิทธิที่จะนำเงินดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินมีเงื่อนไขและเหตุถอนคืนการให้จากพฤติกรรมเนรคุณ
การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตรโดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 10 ถังนั้น ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการให้ทรัพย์สินโดยมีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 528 แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะค่าภารติดพันในที่ดินหรือทรัพย์สินต้องเป็นภารติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินหรือทรัพย์สินนั้นเองโดยตรงไม่ใช่ภารติดพันนอกตัวทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงคนเดียวมีที่ดิน 3 ไร่เศษ ได้ข้าวปีละกว่า 100 ถัง ย่อมมีฐานะไม่ถึงกับเป็นผู้ยากไร้ ตรงข้ามกับจำเลยซึ่งมีบุตรถึง 10 คนมีที่ดินที่พิพาทแปลงเดียวเนื้อที่เพียงประมาณ 5 ไร่ ได้ข้าวปีละ 140-150 ถัง และไม่มีรายได้อื่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ยากไร้ จำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะจุนเจือผู้อื่นได้อีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยด่าโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณีจึงไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)(3).(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หา vs. มีค่าภารติดพัน และการถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ
การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตรโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 10 ถังนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินโดยมีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 528 แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะค่าภารติดพันในที่ดินต้องเป็นภารติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินเองโดยตรง ไม่ใช่ภารติดพันนอกตัวทรัพย์ โจทก์ซึ่งมีตัวโจทก์เพียงคนเดียวมีที่ดิน 3 ไร่เศษ ได้ข้าวปีละกว่า 100 ถัง ย่อมมีฐานะไม่ถึงกับเป็นผู้ยากไร้ ตรงข้ามกับจำเลยซึ่งมีบุตรถึง 10 คน มีที่ดินที่พิพาทแปลงเดียวเนื้อที่เพียงประมาณ 5 ไร่ ได้ข้าวปีละ 140-150 ถัง และไม่มีรายได้อื่นซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ยากไร้ จำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะจุนเจือผู้อื่นได้อีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยด่าโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณอันจะถอนคืนการให้ได้ตามมาตรา 531(2)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินพร้อมภาระเก็บกินไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตของโจทก์ ต่อจากนั้นจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินที่ได้รับยกให้ และแบ่งข้าวเปลือกที่ ได้จากการทำนาให้แก่โจทก์ปีละ 30 ถัง การให้ในลักษณะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินที่โจทก์ยกให้ตลอดชีวิตของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการให้ที่มีค่าภาระติดพัน นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 528,529 โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยมีภาระติดพัน vs. การให้โดยเสน่หา และสิทธิเรียกคืนการให้เนื่องจากจำเลยประพฤติเนรคุณ
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตของโจทก์ ต่อจากนั้นจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินที่ได้รับยกให้ และแบ่งข้าวเปลือกที่ได้จากการทำนาให้แก่โจทก์ปีละ 30 ถัง การให้ในลักษณะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินที่โจทก์ยกให้ตลอดชีวิตของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการให้ที่มีค่าภาระติดพัน นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 528, 529 โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินมีเงื่อนไข โอนให้ผู้อื่น & การบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยได้
สัญญาให้ที่ดิน ผู้รับให้ไม่โอนที่ดินแก่ผู้อื่นต่อไปกึ่งหนึ่งตามที่ตกลงไว้กับผู้ให้ กลับเอาที่ดินไปจำนอง ผู้ให้ฟ้องบังคับให้ผู้รับให้ไถ่จำนองและโอนกึ่งหนึ่งแก่คนภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินบริคณห์ โมฆียะ: การโอนขายทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
เมื่อการให้มิได้มีข้อความจดทะเบียนระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่รับให้การให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นการให้ตามธรรมดาทรัพย์สินที่ให้กันจึงเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินบริคณห์ การโอนขายโดยไม่ได้รับอนุญาต โมฆียะ อายุความบอกล้าง
เมื่อการให้มิได้มีข้อความจดทะเบียนระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรส ฝ่ายที่รับให้ การให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นการให้ตามธรรมดา ทรัพย์สินที่ให้กันจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี การโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี การโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143