พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การกระทำความผิดหลายท้องที่ถือเป็นที่เกิดเหตุทั้งหมด
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353, 84 โดยบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยสุจริตด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คและท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก.สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ความผิดเกิดขึ้น ณ สถานที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเช็ค ไม่ใช่ที่ธนาคารรับฝาก
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฉะนั้น สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ความผิดเกิดขึ้น ส่วนธนาคารที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อให้เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น มิใช่ธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โดยเป็นแต่เพียงตัวแทนโจทก์ไปเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นเท่านั้น ดังนี้ เมื่อธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนธนาคารที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ความผิดคดีนี้จึงมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่จึงไม่มีอำนาจที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าคดีเช่นใดจะชำระได้ที่ศาลใด จึงจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าคดีเช่นใดจะชำระได้ที่ศาลใด จึงจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลในคดีเช็ค: สถานที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นสถานที่เกิดความผิด
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฉะนั้น สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ความผิดเกิดขึ้น ส่วนธนาคารที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อให้เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น มิใช่ธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โดยเป็นแต่เพียงตัวแทนโจทก์ไปเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นเท่านั้น ดังนี้ เมื่อธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนธนาคารที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ความผิดคดีนี้จึงมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่จึงไม่มีอำนาจที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าคดีเช่นใดจะชำระได้ที่ศาลใด จึงจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าคดีเช่นใดจะชำระได้ที่ศาลใด จึงจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีเช็ค: สถานที่ออกเช็คและปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นที่เกิดเหตุ
จำเลยมีที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกเช็คฉบับพิพาทที่จังหวัดเชียงใหม่ ธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับพิพาทคือธนาคารในจังหวัดเชียงใหม่ เพียงแต่ผู้ทรงเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเอาเช็คนั้นมาสลักหลังแลกเงินไปจากโจทก์ที่ในกรุงเทพมหานครโดยจำเลยมิได้ร่วมรู้เห็นด้วย จะถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวพัน โดยกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่เกิดเหตุอีกแห่งหนึ่งนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการปล่อยตัวนักโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ: ศาลจังหวัดนนทบุรีมีอำนาจเหนือศาลทหารกรุงเทพ
จำเลย (ที่ 1) ถูกศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ.2503 แต่จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้งตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2504 และ พ.ศ. 2506 ลดโทษลงเป็นจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2502 จำเลยจึงเป็นนักโทษเด็ดขาด ถูกจำคุกไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครั้นต่อมาได้มี พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2514 ออกใช้บังคับ ซึ่งผู้ร้องผู้เป็นภริยาจำเลยเห็นว่า ตามความในมาตรา 5(จ)
จำเลยอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ยังมิได้รับการพิจารณาสั่งปล่อย ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 โดยถือว่าจำเลยถูกควบคุมโดยผิดกฎหมาย การยื่นคำร้องดังกล่าวนั้นต้องยื่นต่อศาลจังหวัดนนทบุรีตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลแห่งท้องที่ที่ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอยู่ในเขตมีอำนาจออกหมายสั่งปล่อย หาใช่ศาลทหารกรุงเทพ(ศาลอาญา) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าถูกจำคุก ผิดจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา)
จำเลยอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ยังมิได้รับการพิจารณาสั่งปล่อย ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 โดยถือว่าจำเลยถูกควบคุมโดยผิดกฎหมาย การยื่นคำร้องดังกล่าวนั้นต้องยื่นต่อศาลจังหวัดนนทบุรีตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลแห่งท้องที่ที่ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอยู่ในเขตมีอำนาจออกหมายสั่งปล่อย หาใช่ศาลทหารกรุงเทพ(ศาลอาญา) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าถูกจำคุก ผิดจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ดุลพินิจไม่อนุญาตฟ้องนอกเขต หากโจทก์สามารถมอบอำนาจทนายได้
ศาลล่าง 2 ศาลพิพากษาต้องกันให้คืนฟ้อง ไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
เหตุคดีอาญาเกิดที่จังหวัดศรีสะเกษและจำเลยก็อยู่ในห้องที่จังหวัดศรีสะเกษแต่ตัวโจทก์ต้องควบคุมอยู่ที่จังหวัดพระนคร ดังนี้การที่ศาลอาญาใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลอาญา เป็นดุลพินิจที่ชอบ
เหตุคดีอาญาเกิดที่จังหวัดศรีสะเกษและจำเลยก็อยู่ในห้องที่จังหวัดศรีสะเกษแต่ตัวโจทก์ต้องควบคุมอยู่ที่จังหวัดพระนคร ดังนี้การที่ศาลอาญาใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลอาญา เป็นดุลพินิจที่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: ความต่อเนื่องของเขตอำนาจตามกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯ กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่าให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ. อ. และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม กองบัญชาการตำตรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: การกำหนดเขตอำนาจตาม พรบ. จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ และการคงอยู่ของประกาศเดิม
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯกำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่า ให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ "เจ้าพนักงาน" ของพลทหารผู้คุมเรือนจำตามกฎหมายอาญา
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลทหารกลาง (ศาลอุทธรณ์)ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
พลทหารที่เป็นผู้คุมเรือนจำจังหวัดทหารบก เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
พลทหารที่เป็นผู้คุมเรือนจำจังหวัดทหารบก เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ความผิดเริ่มเกิดในจังหวัดใด ศาลจังหวัดนั้นมีอำนาจพิจารณา
ในความผิดฐานรับของโจรโคของกลางจับได้ที่จังหวัดสงขลาแต่โคนี้ถูกคนร้ายลักจากจังหวัดพัทลุงความผิดได้เริ่มเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดพัทลุงศาลจังหวัดพัทลุงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้