คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8049/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังศาลสั่งรอการพิจารณาคดีในคดีเยาวชนและครอบครัว
เจ้าหน้าที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2555 การส่งหมายมีผลเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยต้องยื่นคำให้การภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถือว่าได้รับหมาย
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาดและให้รอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ไม่มีบทบัญญัตินิยามคำว่า "การพิจารณา" และ "กระบวนพิจารณา" จึงต้องนำบทนิยามตาม มาตรา 1 (4) และ 1 (7) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ดังนั้น การยื่นคำให้การของจำเลยซึ่งเป็น "กระบวนพิจารณา" อย่างหนึ่ง จึงจำต้องรอไว้ก่อน มีผลให้ระยะเวลานับแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของประธานศาลฎีกาดังกล่าวย่อมไม่นับรวมในกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำให้การภายในสิบห้าวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10167/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลำดับเจ้าหนี้จำนอง: ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้ แม้ไม่มีการสืบพยานเพิ่มเติม
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดิน 3 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และอยู่ระหว่างรอขายทอดตลาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น
วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องและโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันมาศาล จำเลยทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่ยื่นคำคัดค้าน โจทก์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องแล้วแถลงว่า ทรัพย์จำนองที่โจทก์นำยึดยังไม่ได้ขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นเจ้าหนี้จำนองในทรัพย์ที่โจทก์นำยึด โดยทนายผู้ร้องส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและเจ้าหนี้จำนอง ซึ่งศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้ และถือว่าเป็นการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้คัดค้านก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (1) แล้ว แม้หากให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบในการไต่สวนก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือจากการสอบทนายผู้ร้อง และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งตามคำร้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบทนายผู้ร้องมารับฟังประกอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องทำการสืบพยานผู้ร้องก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการถอนฟ้องคดีอาญา – การถอนฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ ซึ่งรวมถึงการถอนฟ้อง และการสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย เมื่อทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการถอนฟ้องโดยสำคัญผิด ก็เป็นความบกพร่องของฝ่ายโจทก์เอง ย่อมไม่กระทบถึงคำสั่งที่อนุญาตให้ถอนฟ้องโดยชอบของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9280/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันนัดพิจารณาคดีที่ศูนย์นัดความชอบด้วยกฎหมาย ความประมาทเลินเล่อของโจทก์เป็นเหตุไม่อาจยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
โจทก์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.อ. มาตรา 220
ศาลสั่งให้คู่ความกำหนดวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยที่ศูนย์นัดความและคู่ความได้ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความ ถือได้ว่าการกระทำของคู่ความที่ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลและเป็นการกำหนดวันนัดต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9280/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันนัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความชอบด้วยกฎหมาย ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ไม่อาจยกเหตุพิจารณาคดีใหม่ได้
คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์แต่ประการใด จะนำบทบัญญัติมาตรา 220 แห่ง ป.วิ.อ. มาบังคับแก่กรณีเช่นนี้หาได้ไม่
การที่เจ้าหน้าที่ศาลประจำศูนย์นัดความบันทึกวันนัดสืบพยานโจทก์ตามที่โจทก์และทนายจำเลยตกลงกัน แม้โจทก์ไม่มีทนายความคอยให้คำปรึกษาในขณะตกลงกำหนดวันนัดก็ตาม แต่โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดด้วยตนเอง โจทก์ควรจดบันทึกวันเวลานัดไว้เพื่อมิให้หลงลืม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์จดบันทึกเวลานัดแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์จดจำวันนัดสืบพยานโจทก์คลาดเคลื่อนซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รอบคอบและเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์เอง จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีของโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (7) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ให้คำนิยามของคำว่ากระบวนพิจารณาไว้ว่า "กระทำการใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันเกี่ยวด้วยคดีซึ่งได้กระทำไปโดยคู่ความในคดีนั้น หรือโดยศาลหรือตามคำสั่งของศาลไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลทำต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย และรวมถึงการส่งคำคู่ความและเอกสารอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้" เมื่อคดีนี้ศาลสั่งให้คู่ความกำหนดวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยที่ศูนย์นัดความและคู่ความได้ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความ ถือได้ว่าการกระทำของคู่ความที่ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์ความเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลและเป็นการกำหนดวันนัดต่อศาลแล้ว ดังนั้น การกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงเจตนาในชั้นศาลไม่ถือเป็นข้อตกลงผูกพัน การบังคับคดีต้องเป็นไปตามคำพิพากษา
การที่ทนายจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะนำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลในวันที่ 14 มิถุนายน 2545 เวลา 9 นาฬิกา โดยในวันดังกล่าวโจทก์จะนำโฉนดที่ดินเลขที่ 32270, 32271, 32272 และ 32273 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มามอบให้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนโอนโดยเสียค่าธรรมเนียมเองและหากจำเลยไม่ดำเนินการตามที่ได้แถลง ให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษาโจทก์และทนายโจทก์แถลงไม่ค้านนั้น การแถลงของทนายจำเลยและโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำต่อศาลชั้นต้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (7) มิใช่การแสดงเจตนาต่อกันในฐานะคู่สัญญาที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ แม้จำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลงก็ตาม ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษามิได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่สามารถหาเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลได้ จึงไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันในนัดที่แล้ว ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษานั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับ ย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะแม้ว่าจำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลง ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษาไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษา ทั้งมิใช่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลย หากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแรงงาน & การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8) ย. จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย. ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไป แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจให้การแทนจำเลยในคดีแรงงาน และการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8)ย.จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจากต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย.ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เป็นโมฆะ หากได้มาจากการปกปิดข้อเท็จจริงว่าที่ดินเป็นป่าช้าและกระทำการไม่สุจริต
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทที่ชาวจีนฮกเกี้ยนได้ช่วยกันออกเงินซื้อที่ดินโดยให้ล.เป็นผู้จัดการขณะร่วมกันออกเงินซื้อที่พิพาทซึ่งยังไม่มีใบสำคัญสำหรับที่ดินเพื่อทำเป็นป่าช้าฝังศพโดยตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าและให้ล. เป็นทรัสตีต่อมาล.ได้ไปดำเนินการออกโฉนดที่พิพาทและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าอันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดินฉบับที่2พ.ศ.2459มาตรา8การตั้งทรัสต์และทรัสตีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการจดทะเบียนกันไว้หรือไม่ก็มีผลบังคับได้ ลักษณะของป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่สถานีที่ฝังศพสำหรับเฉพาะคนในตระกูลหรือกลุ่มพวกพ้องของล. เท่านั้นแต่ใช้เป็นที่ฝังศพของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมากโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นใครถือได้ว่าทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพและบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตายอันเป็นประโยชน์ต่อชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วไปลักษณะของทรัสต์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลหรือทรัสต์มหาชนจึงเป็นทรัสต์ถาวรไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไปเองดังเช่นทรัสต์เอกชนทั่วไปแม้ต่อมาล. ได้ถึงแก่กรรมที่ประเทศสิงคโปร์แล้วก็ตามแต่ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าก็ไม่ได้เลิกหรือสิ้นสภาพไปผู้มีส่วนได้เสียของทรัสต์ดังกล่าวหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนได้ แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของล. คนในบังคับอังกฤษผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดีว่าที่พิพาทเป็นของล. ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของล. ดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอทั้งตามลักษณะที่พิพาทในขณะนั้นก็ยังเป็นป่าช้าฝังศพของชาวจีนอยู่และที่พิพาทส่วนใหญ่เป็นที่ฝังศพก่อปูนซีเมนต์มีรูปแบบเป็นฮวงซุ้ยของชาวจีนทั่วไปจากสภาพของป่าช้าดังกล่าวย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าไปยึดถือเพื่อตนทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่พิพาทเป็นป่าช้าฝังศพเนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่พิพาทอย่างเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้างการดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
of 4